วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เผือก

ชื่อไทย : เผือก*
ชื่ออังกฤษ : Dasheen, Eddoe, Japanese Taro, Taro

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เผือกมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า โคโลคาเซีย เอสคูเบนตา (แอล) ชอตต์ (Colocacia esculenta (L) Schott) อยู่ในตระกูลอะราเซีย (Aracea) ที่ทราบมีเผือกอยู่กว่า ๒๐๐ พันธุ์ ในเมืองไทยนั้นมีหลายพันธุ์เช่นกัน พืชอีกชนิดหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า เผือก หนังสือพันธุ์ไม้แห่งประเทศไทย เล่ม ๑ ของกรมป่าไม้เรียกว่า ลกกะเซีย (lok-ka-sia) และมีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น ยัวเทีย (yautia) และแทนเนีย (tannia) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า แซนโทโซมา ซากิตทิโฟลเลียม (Xanthosoma sagittifollium) ลกกะเซีย เป็นเผือกหัวเล็ก เนื่องมาจากหัวที่เป็นแกนใหญ่ไม่สะสมแป้ง จึงใช้เฉพาะส่วนหัวแขนงเท่านั้น เผือกเป็นพืชมีอายุอยู่ได้หลายฤดู ลำต้นใต้ดินเจริญเติบโตกลายเป็นหัว และมีหัวเล็ก ๆ ล้อมรอบ หัวมีขนาดและรูปร่างต่างกันออกไป ปกติต้นสูง ๐.๔-๒ เมตร ใบใหญ่เป็นรูปหัวใจ มีขนาดสีต่าง ๆ กัน ใบเกิดจากใต้ดิน ดอกปกติประกอบด้วย ๒-๕ ช่อดอก อยู่ในก้านใบ ช่อดอกมีก้านยาว ๑๕-๓๐ ซม. ดอกบานทยอยกันเรื่องๆ ดอกตัวเมียมักจะไม่มี ดอกตัวผู้หนึ่งดอกมีก้านเกสรตัวผู้ ๒-๓ อัน ผลมีสีเขียว เปลือกบาง ไม่ค่อยมีเมล็ดเท่าที่ทราบเผือกที่ปลูกในฮาวาย นิวกินี และโดมินิกัน สามารถติดเมล็ดได้
จังหวัดที่ปลูกมาก ได้แก่ ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชัยนาท สมุทรสาคร รองลงไป ได้แก่ ภาคใต้ ปลูกมากในจังวัดสงขลา สุราษฎร์ธานี ชุมพร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปลูกมากในจังหวัดบุรีรัมย์ มหาสารคาม ส่วนภาคเหนือปลูกเผือกน้อยกว่าภาคอื่น ๆ ปลูกมากในจังหวัดน่าน
เผือกในเมืองไทยเท่าที่มีผู้จำแนกไว้มี ๔ ชนิด ได้แก่
๑. เผือกหอม เป็นชนิดหัวใหญ่ หนักหัวละประมาณ ๒-๓ กก. มีหัวเล็กติดอยู่กับหัวใหญ่เล็กน้อย ต้มรับประทานมีกลิ่นหอม กาบใบใหญ่สีเขียว
๒. เผือกเหลือง หัวขนาดย่อม หัวสีเหลือง
๓. เผือกไม้หรือเผือกไหหลำ หัวมีขนาดเล็ก
๔. เผือกตาแดง ที่ตาของหัวมีสีแดงเข้มมีหัวเล็ก ๆ ติดอยู่รอบหัวใหญ่ เป็นกลุ่มจำนวนมาก กาบใบและเส้นใบสีแดง

ฤดูปลูก/วิธีปลูก/การใส่ปุ๋ย


นำเต้า

น้ำเต้า : (bottle gourd)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagenaria siceraria Standl.

ชื่อเรียกในท้องถิ่น : คิลูส่า, มะน้ำเต้า



ลักษณะโดยทั่วไปของน้ำเต้าว่า เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ซึ่งอาจมีความยาวกว่า 10 เมตร ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีมือเกาะที่แยกออกเป็น 2 ทาง ใบมีขนาดใหญ่คล้ายรูปหัวใจ ผิวใบขนนุ่มทั้ง 2 ด้าน มีรอยหยักบริเวณใบ 5-9 หยัก ก้านใบยาวประมาณ 20 ซม. รากจะเป็นระบบรากตื้น ในส่วนของผลมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่



"ผลมีเนื้อในสีขาวหรือสีเขียวค่อนข้างจะนุ่ม เปลือกมีสีเขียวเป็นลาย จริง ๆ แล้วน้ำเต้ามีอยู่หลายสายพันธุ์ อาทิ น้ำเต้าพื้นบ้านเราน้ำเต้าทรงเซียน ซึ่งเป็นทรงที่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ ถ้าเราดูหนังจีนจะเห็นว่ามีน้ำเต้าทรงเซียนที่นักแสดงนำมาประกอบฉาก แต่น้ำเต้าพื้นบ้านเราก็สามารถนำมาตากแห้งเคลือบแล็กเกอร์ทำเป็นเครื่องประดับก็ได้แต่ไม่ค่อยนิยมกันเท่าไรนัก เนื่องจากผิดกันตามรูปทรง ส่วนใหญ่จะนิยมรับประทานมากกว่า"



แหล่งที่พบน้ำเต้าจะเห็นว่าสามารถปลูกที่ใดก็ได้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินและถ้านำไปปลูกก็จะขึ้นอยู่กับ
ผู้ที่ปลูกว่ามีการดูแลรักษามากน้อยเท่าใด นิยมใช้เมล็ดในการขยายพันธุ์



การปลูก จะต้องเตรียมดินให้มีการไถพรวน และยกร่องแปลงปลูกกว้างประมาณ 4 เมตร จะนิยมขุดหลุมปลูกให้กว้าง 15-20 เซนติเมตร ลึก 2-3 เซนติเมตร ขุดกลุมห่างกัน 2 เมตร แล้วนำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักมารองก้นหลุม หลังจากนั้นก็หยอดเมล็ดลงในหลุมปลูกที่เตรียมไว้ ในพื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะใช้เมล็ดน้ำเต้าจำนวน 1.5 กิโลกรัม หยอดหลุมละ 2-3 เมล็ด กลบด้วยดินร่วนให้มีความหนาประมาณ 1-2 เซนติเมตร นำฟางข้าวแห้งหรือหญ้าคาคลุมบนหลุมเพื่อรักษาความชื้นในดินให้มากที่สุด หลังจากนั้นรดน้ำให้ชุ่มไปเรื่อย ๆ ประมาณ 7- 10 วัน จนกว่าน้ำเต้าจะงอก หมั่นดูแลหากต้นน้ำเต้าขึ้นมาทั้งหมดให้ถอนทิ้งให้เหลือเพียง 2 ต้นก็พอ เพื่อให้เจริญเติบโตเต็มที่



การดูแลรักษาหลังการปลูก น้ำเต้าเป็นพืชที่มีระบบรากตื้น ต้องการความชื้นปานกลาง หลังจากต้นโตให้รดน้ำประมาณ 3-5 วัน/ครั้ง แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพของดินปลูกว่ามีความแห้งแล้งเพียงใด ถ้าอากาศร้อนมาก ๆ ดินปลูกเริ่มแห้งก้ต้องรดน้ำให้ถี่ขึ้น แต่ต้องคอยดูไม่ให้ดินแฉะมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรครากเน่า หลังปลูกไปได้ประมาณ 25-30 วัน หรือเริ่มมีใบจริง 4-5 ใบ จึงเริ่มใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่บริเวณโคนต้น ไม่ควรพรวนดินให้ลึกเกินไป เพราะอาจเกิดความเสียหายต่อระบบรากไปจนถึงต้นเลยทีเดียว



ในการกำจัดวัชพืช ควรจะมีการกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องในช่วงที่น้ำเต้ายังเล็กอยู่ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะคลุมพื้นที่ปลูกทั้งหมด จะช่วยลดการกำจัดวัชพืชลงได้บ้างบางส่วน



โรคและแมลง มีค่อนข้างน้อย เนื่องจากใบของน้ำเต้ามีกลิ่นเหม็น แมลงไม่ชอบ มีข้อควรระวังอย่างเดียวคือ เรื่องของการให้น้ำอย่าแฉะเกินไปจนทำให้เกิดโรคราก-โคนเน่า



การเก็บเกี่ยวผลผลิต หลังจากปลูกไปแล้วประมาณ 55-60 วัน ก็เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต ให้เราเลือกผลที่เหมาะที่จะนำมารับประทานมากที่สุด ให้สังเกตในช่วงหลังดอกบาน 6-7 วัน ให้เริ่มทยอยเก็บ จะเก็บในลักษณะวันเว้นวัน ทำเช่นนี้ไปจนหมดผลผลิต



การใช้ประโยชน์ของน้ำเต้า ผลสามารถนำมารับประทานกับน้ำพริก ผัดกับหมูและไข่ แกงส้ม สรรพคุณทางยา ใบ แก้ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เริมเป็นต้น



คุณสมบัติในการใช้รักษาโรคของน้ำเต้า
1. โรคเบาหวาน
2. ท่อปัสสาวะอักเสบ
3. โรคปอดอักเสบ จะใช้ส่วนที่เป็นเปลือกสดรับประทาน
4. แก้ปวดฝีในเด็ก โดยใช้น้ำเต้าหั่นเป็นชิ้น ๆ ผสมขิงต้มเป็นน้ำซุปรับประทาน
5. โรคลูกอัณฑะบวมให้ใช้ลูกน้ำเต้ามาต้มรับประทาน
6. โรคทางลำคอให้ใช้ลูกน้ำเต้าที่แก่ ๆ ตัดจุก แล้วใส่น้ำไว้รับประทานเป็นโรคประจำจะสามารถป้องกันรักษาโรคทางลำคอได้






จัดทำโดย : ดาราวรรณ ทวีศักดิ์บวรกุล





กระเทียม

กระเทียม (Garlic)

--------------------------------------------------------------------------------

สถานการณ์ทั่วไป
กระเทียมเป็นพืชเศรษฐกิจพืชหลักของประเทศนอกจากจะใช้ประกอบอาหารและยังเป็นพืชสมุนไพรรักษาโรคได้หลายชนิด ประเทศที่ผลิตกระเทียมได้มากคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ และอินเดีย สำหรับประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกระเทียม 150,000-190,000 ไร่ ผลผลิตประมาณ 9,000 ตัน/ปี ผลผลิตสดเฉลี่ย 1,700-1,900 กิโลกรัม (สด)


--------------------------------------------------------------------------------

ลักษณะทั่วไปของพืช
กระเทียมเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า หัว หัวมีกลีบย่อยหลายกลีบติดกันแน่นเนื้อสีขาวมีกลิ่นฉุนการปลูกจะใช้กลีบกระเทียมเป็นพันธุ์ปลูกได้ดีในดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำดีกระเทียมจะลงหัวในช่วงที่มีอากาศหนาว ดังนั้นจึงปลูกได้ดีเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย


--------------------------------------------------------------------------------

พื้นที่ส่งเสริม
พื้นที่เหมาะสมเชิงธุรกิจจังหวัด เชียงใหม่, ลำพูน, เชียงราย, ลำปาง,พะเยา, อุตรดิตถ์, แม่ฮ่องสอน, ศรีสะเกษ
พื้นที่ปลูกที่สำคัญ จังหวัด เชียงใหม่, ลำพูน, เชียงราย, ลำปาง, พะเยา, อุตรดิตถ์, แม่ฮ่องสอน, ศรีสะเกษ


--------------------------------------------------------------------------------

พื้นที่ปลูก ประมาณ 209,430 ไร่ ( พศ.2540 / 2541)
พันธุ์ที่ส่งเสริม กระเทียมพันธุ์เบาของศรีสะเกษ, กระเทียมพันธุ์เชียงใหม่, กระเทียมพันธุ์หัวใหญ่

ต้นทุนการผลิต/ไร่ 13,860 บาท/ไร่ ( พศ.2539 )


--------------------------------------------------------------------------------

ผลผลิต
ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 429,441 ตัน ( พศ. 2540 / 2541)
ผลผลิตเฉลี่ย 2,051 กก./ไร่ (พศ. 2540 / 2541)
ราคาที่เกษตรกรขายได้ 22 - 60 บาท/กก. (พศ. 2541)
ปริมาณที่ใช้ในประเทศ 429,416 ตัน (พศ. 2541)
การส่งออก ปริมาณ 25 ตัน มูลค่า 3.5 ล้านบาท ( พศ. 2540 )
การนำเข้า ปริมาณ - มูลค่า - ล้านบาท (พศ.- )

การปลูก
วิธีการปลูก
1. เตรีมแปลงกว้างประมาณ 1.20 เมตร ความยาวตามสภาพพื้นที่ ความสูงของแปลงประมาณ 20 เซนติเมตร
2. ใชัพันธุ์กระเทียมโดยฝังกลีบกระเทียมหลุมละ 1 กลีบ ลึกประมาณ 1 เซนติเมตร
3. ให้รดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 5-7 วัน/ครั้ง

ระยะปลูก 15-20 เซนติเมตร X 15-20 เซนติเมตร
จำนวนต้น/ไร่ -
การดูแลรักษา
การใส่ปุ๋ย
1. ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เช่นปุ๋ยคอก, ปุ๋ยหมัก, รองพื้นระยะเตรียมดิน ประมาณ 2-3 ตัน/ไร่
2. ปุ๋ยเคมีสูตร 10-10-15หรือ 13-13-21 อัตรา50-100 กก./ไร่
การให้น้ำ

1. โดยใส่น้ำขังแปลงและตักรดทุก 3-5 วัน/ครั้ง โดยสังเกตุจากใบกระเทียมถ้าเริ่มเหี่ยวต้องรีบให้น้ำทันที
การปฏิบัติอื่นๆ

การคลุมฟาง หลังปลูกกระเทียมแล้วให้คลุมฟางหนาประมาณ 2-3 นิ้ว เพื่อควบคุมการงอกของวัชพืช และควบคุมความชื้นในดิน ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโต

ศัตรูพืชที่สำคัญและวิธีการป้องกันกำจัด
1. โรค
1.1 โรคใบเน่าหรือแอนแทรกโนส จะทำให้ใบเป็นแผลเน่ายุบตัวและระบาดจนถึงทำให้หัวเน่า โดยใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไดโพลาแทน, แมนเชทดี, ไดเท็นเอ็ม-45 หรือ ชินโคโฟน ฉีดยาพ่นทุก 5-7วัน/ครั้ง
1.2 โรคใบจุดสีม่วง โรคนี้จะทำให้กะเทียมไม่ลงหัว ใบแห้งมีแผลจำนวนมากตามใบและจะแห้งตายไปในที่สุดป้องกันกำจัด ใช้ยากำจัดเชื้อราเช่น ไดเท็นเอ็ม-45, ชินโคโพล เดอโรชาล, นาวิสตินหรือไดโพลาแทนฉีดพ่นทุก5-7 วัน/ครั้ง
1.3 โรคหัวและรากเน่า กระเทียมเริ่มมีใบแก่เหลืองเหี่ยวแห้งไป กาบหัวช้ำเริ่มมีเส้นใยสีขาวขึ้นฟูอยู่บนแผลและตาม รากเน่าเป็นสีน้ำตาลจะทำให้หัวนิ่มเน่าและเนื้อเยื่อยุ่ยมีกลิ่นเหม็น
การป้องกันกำจัด
1. ให้ขุดหอมและดินที่เกิดโรครวบรวมไปเ ผาทำลายเสีย เพื่อป้อองกันมิให้ระบาดแพร่ทั่วไป
2. ในการปลูกหอมหรือพืชอื่นๆในปีต่อไป ในที่ๆมีโรคนี้ระบาด ควรทำการปรับปรุงแก้ไขดินเสียใหม่ โดยใส่ปูนขาวประมาณ 100-200 กก./ไร่ ก็จะช่วยให้โรคนี้ชะงักไปได้ระยะหนึ่งหรือหายไป
3. ใช้ยาเทอราคลอ, เทอราโซล หรือเทอราคลอซุปเปอร์เอกซ์ราดโคนต้น4). ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 5 ปี
1.4 โรคเน่าคอดิน ที่โคนต้นบริเวณเหนือพื้นดินขึ้นไปจะมีรอยช้ำเป็นจุดเล็กๆก่อนแล้วจึงขยายตัวขึ้นตามลำดับจนรอบต้น สังเกตดูจะเห็นรอยช้ำสีน้ำตาล ต้นกล้าจะหักพับและส่วนยอดก็จะแห้งตาย
การป้องกันกำจัด
1. หว่านเมล็ดบางๆเพราะถ้าแน่นเกินไปกล้าจะมีโอกาสเป็นโรคได้ง่ายและอย่ารดน้ำให้แฉะเกินไป
2. ถ้ามีโรคเริ่มระบาดเล็กน้อยใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น บลาสซิโคล, ไดเทนเอ็ม-45 ในอัตราที่กำหนดในฉลากสัก 2-3 ครั้ง หลังจากนั้นให้ใช้น้ำปูนใส่อย่างเจือจางรดเป็นระยะ


--------------------------------------------------------------------------------

2. แมลง
2.1 เพลี้ยไฟ จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใบกระเทียม ป้องกันกำจัดโดยใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เช่น เซฟวิน,พ็อส ฉีดพ่น

มะระจีน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Momordica charantia Linn.

ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae

ชื่ออังกฤษ : Balsam Pear, Bitter Cucumber, Leprosy Gourd, Bitter Gourd

ชื่ออื่นๆ : ผักเหย, ผักไห, มะร้อยร,ู มะห่อย, มะไห,่ สุพะซ,ู สุพะเด

ลักษณะ
ไม้เถา มีมือเกาะ ใบเป็นใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ กว้างยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร ขอบใบหยักเป็นซี่ห่างๆ ใบเว้าเป็นแฉกลึก 5-7 แฉก ใบและลำต้นมีขนสากอยู่ทั่วไป ดอกสีเหลือง ออกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน รูปแตร ปลายกลีบดอกแยกเป็น 5 แฉก เมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร มะระมี 2 ชนิด คือ มะระไทยหรือมะระขี้นก และมะระจีน ซึ่งต่างกันที่ลักษณะและขนาดของผล ผลมะระขี้นก มีขนาดเล็กกว่า ยาว 3-5 เซนติเมตร ผลรูปกระสวย ผิวขรุขระ สีเขียวเข้ม เมื่อสุกมีสีเหลือง ส่วนมะระจีนมีขนาดใหญ่กว่า เส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 เซนติเมตร ยาว 12-30 เซนติเมตร รูปทรงกระบอก สีเขียวอ่อน ผิวขรุขระ ผลมะระทั้งสองชนิดมีรสขม

การปลูก
ขุดหลุมกว้าง 20-30 เซนติเมตร ลึก 20-25 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 กลบทับด้วยดินบางๆ แล้วจึงหยอดเมล็ดลงในหลุมๆ ละ 3-5 เมล็ด กลบทับด้วยดินหนา ไม่เกิน 1 เซนติเมตร ปักค้างเพื่อให้ต้นเลื้อยขึ้นค้าง หลังจากที่ต้นกล้ามีใบจริงแล้ว ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 3 ต้น อายุการเก็บเกี่ยวมะระประมาณ 55-60 วัน

ประโยชน์ทางอาหาร : ยอดอ่อน ใบอ่อนและผลอ่อน-นึ่งหรือลวกให้สุก ทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกปลาร้าหรือน้ำพริกปลาทู

ประโยชน์ทางยา : แก้เบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ผลดิบ-กินแก้โรคตับอักเสบ ปวดหัวเข่า ม้าม อักเสบ ผลสุก-ใช้คั้นน้ำทาหน้าแก้สิว เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาเจริญอาหาร แก้โรคลมเข้าข้อหัวเข่าบวม เป็นยาบำรุงน้ำดี เป็นยาขับพยาธิในท้อง ส่วนน้ำคั้นของผลมะระ-แก้ปากเปื่อย ปากเป็นขุย บำรุงระดู



จัดทำโดย : ดาราวรรณ ทวีศักดิ์บวรกุล

โรคที่เกิดกับผักกาดขาว

โรค
1. โรคเน่าเละ (Soft rot)
สาเหตุ เกิด จากเชื้อแบคทีเรีย
ลักษณะอาการ เริ่มอาการของโรคเป็นจุดฉ่ำน้ำ ต่อมาจะเน่าอย่างรวดเร็ว ทำให้เนื้อเยื่อเปื่อยและเป็นน้ำภายในเวลา 2-3 วัน ผักจะเน่า ยุบตัวหมดทั้งต้นและหัว หรือฟุบแห้ง เป็นสีน้ำตาลอยู่ที่ผิวดิน อาการเน่าจะเกิดส่วนใดก่อนก็ได้ แต่โดยปกติจะเริ่มที่โคนกาบใบ หรือตรงกลางต้นก่อน สันนิษฐานว่าเชื้อราบางชนิดทำลายไว้ก่อน


โรคเน่าเละ

การป้องกันกำจัด
1. ป้องกันมิให้เกิดแผลในระหว่างเก็บเกี่ยวขนส่ง และการเก็บรักษา
2. ฉีดยาป้องกันแมลงและหนอน
3. ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุโบรอนผสมด้วย โดยใช้ปุ๋ยบอแรกซ์ อัตรา 10-20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
4. อาจใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น พวกสเตร์ปโตมัยซิน อากริไมซิน ฉีดพ่น

2. โรคเหี่ยวของผักกาดขาวปลี (Fusaarium wilt to Chinese Cabbage)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Fusarium Oxysporum
ลักษณะอาการ ผักจะมีใบล่างเหลือง และเริ่มสังเกตได้ง่าย คือ มีใบล่างเหี่ยวแห้งซีกใดซีกหนึ่ง ทำให้ใบเบี้ยว งอไปข้างที่ใบเหี่ยว ต่อมาใบทางซีกนั้นจะเหี่ยวเพิ่มขึ้น และเหี่ยวทั่วต้นในเวลาต่อมา หรือผักเจริญเติบโตแต่เพียงซีกเดียวก่อนแล้วเหี่ยวตาย เมื่อถอนดูรากจะขาดหลุดจากลำต้น เพราะผุเปื่อยเป็นสีน้ำตาล ในดินเหนียวและดินทรายมักพบโรคนี้มาก

การป้องกันกำจัด
1. ก่อนปลูกผักควรมีการเตรียมดินให้ดี มีการใส่ปูนขาวแก้ไขดินเป็นกรดก่อนปลูก
2. ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนมากในระยะต้นกล้า
3. ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับพื้นที่ดังกล่าว
4. ใช้ยาป้องกันกำจัดในโรคนี้มักได้ผลไม่คุ้มค่า

3. โรคเน่าคอดิน (Damping off)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Pythium SP.
ลักษณะอาการ โรคนี้จะเกิดเฉพาะในแปลงกล้าเท่านั้น การหว่านที่แน่นทึบอับลมและต้นเบียดกันมากมักจะเกิดโรค ต้นกล้ามักจะเกิดอาการเป็นแผลซ้ำที่โคนต้นระดับดิน เนื้อเยื่อตรงแผลเน่าและแห้งไปอย่างรวดเร็วเมื่อถูกแสงแดดทำให้ต้นกล้าหักพับ เพราะมีแผลซ้ำที่โคนต้นระดับดิน ต้นเหี่ยวแห้งตาย บริเวณที่เป็นโรคจะค่อย ๆ ขยายวงกว้างออกเป็นวงกลม


โรคเน่าคอดิน

การป้องกันกำจัด
1. ไม่ควรหว่านเมล็ดผักแน่นเกินไป
2. ใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราละลายน้ำในอัตราความเข้มข้นน้อย ๆ ราดลงไปบนผิวดินให้ทั่วสัก 1-2 ครั้ง เช่น เทอราคลอเบนฟอร์ด ซึ่งเป็นยาป้องกันกำจัดเชื้อราในดินโดยตรงจะมีผลยิ่งขึ้น หรือจะใช้ริคโดมิล เอ็มแซด72 ละลายน้ำรดก็ได้ผลดี หรือใช้ปูนใส่รดแทนน้ำในระยะที่เป็นต้นกล้าก็จะช่วยให้ต้นกล้าแข็งแรง และไม่ต้องใช้ยาอีกเลย

4. โรคใบด่างของผักกาดขาวปลี
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส Turnip mosaic Virus
ลักษณะอาการ ต้นที่เป็นโรคแสดงอาการใบด่างเขียว สลับเขียวเหลือง แคระแกรนตามบริเวณเส้นใบจะพบเป็นสีม่วงปะปนอยู่ เมื่อเป็นโรครุนแรงขึ้น ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเหลืองทั้งใบ และมีลักษณะบิดงอเล็กน้อย

การป้องกันกำจัด
1. ใช้เมล็ดที่ปราศจากโรค
2. กำจัดต้นที่แสดงอาการของโรคในระยะแรก โดยการเผาทำลาย
3. ป้องกันกำจัดแมลงพาหะพวกเพลี้ยอ่อนด้วยสารเคมี ไดเมทไทเอท ในอัตรา 30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร

5. โรคราน้ำค้าง
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา (Peroros Pora SP.)
ลักษณะอาการ ด้านบนใบเป็นรอยด่างสีเหลืองซีด ต่อมาแสดงอาการไหม้ทับใต้ใบปรากฏเส้นใยสีขาวเจริญขึ้นมา อาการลุกลามจากใบรอบนอกเข้าสู่ใบด้านใน หากเป็นรุนแรงทำให้ใบไหม้


โรคราน้ำค้าง

การป้องกันกำจัด
เมื่อเริ่มพบอาการให้ใช้สารเคมี ไดเมทเอ็ม หรือ อาโคนิล ฉีดพ่น หากมีการระบาดรุนแรงให้ใช้เอพรอน 35 ฉีดพ่น 1 ครั้ง

6. โรคใบจุด
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา (Altennaria SP.)
ลักษณะอาการ เป็นจุดค่อนข้างกลมสีน้ำตาล ลักษณะแผลเป็นวงซ้อนกัน

การป้องกันกำจัด
ห้ามใช้สารเคมี เบนเลท ฉีดพ่น หากมีระบาดมากให้ใช้สารเคมรอฟรัล สลับกับแอนทราโคลตามฉลากข้างภาชนะบรรจุ


มะเขือม่วง

ชื่อสามัญ : EGG PLANT

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum melongena L.

ชื่ออื่น : มะเขือกะโปกแพะ, มะเขือหำม้า, มะเขือจาน, มะเขือจาวมะพร้าว, มะแขว้งคม (เหนือ)

เป็นพืช ดั้งเดิม ของอินเดีย ปลูกง่าย การดู แลรักษา ไม่ยุ่งยาก ถ้าเอาใจใส่ ดีเก็บเกี่ยว ผลผลิตได้ ระยะนาน โรคและ ศัตรูมีน้อย ทนแล้ง ปลูกได้ ตลอดปี ทำเลที่เหมาะอยู่ ในระดับ 500-800 เมตร

พันธุ์ปลูก : Black King

การปลูก

- ผักตระกูลนี้ควรมีการเพาะกล้าก่อนย้ายลงปลูกในแปลง
- การเพาะกล้า เตรียมดินในกะบะเพาะหรือในถุงพลาสติก
- หยอดเมล็ดในถุงเพาะ ถุงละ 3-5 เมล็ด ถ้าเพาะในกะบะเพาะ ควรเว้นระยะระหว่างต้น 5 เซนติเมตร ระหว่างแถว 10 เซนติเมตร
- เมื่อเมล็ดงอกแล้วมีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกเหลือต้นกล้าแข็งแรงสมบูรณ์ไว้ 2 ต้น
- เมื่อกล้ามีใบจริง 5-6 ใบ หรือหลังเพาะกล้าประมาณ 30 วัน ย้ายกล้าลงแปลงปลูก
- เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้ หรือเริ่มเจริญเติบโต ใส่ปุ๋ยยูเรีย 1 ครั้ง
- เมื่อต้นเริ่มออกดอกใช้ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 12-24-12
- อายุการเก็บเกี่ยว มะเขือประมาณ 60-75 วัน หลังย้ายกล้า

ประโยชน์ทางอาหาร : ประกอบอาหารกิน ผลดิบ-เผาทานกับน้ำพริก

ประโยชน์ทางยา : ลำต้น,ราก-ต้มกินแก้บิด หรือคั้นน้ำล้างแผลเท้าเปื่อย ใบแห้ง-ป่นเป็นผง เป็นยาแก้โรคบิด ปัสสาวะขัด หนองใน ดอกสดหรือแห้ง เผาให้เป็นเถ้า แล้วบดละเอียด แก้ปวดฟัน ผลแห้ง-ทำเป็นยาเม็ด แก้ปวด แก้ตกเลือดในสำไส้ ขับเสมหะ ผลสด-ใช้พอกบริเวณที่เป็นแผลอักเสบ ฝีหนอง หรือโรคผิวหนังเรื้อรัง ผดผื่นคัน