วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เผือก

ชื่อไทย : เผือก*
ชื่ออังกฤษ : Dasheen, Eddoe, Japanese Taro, Taro

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เผือกมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า โคโลคาเซีย เอสคูเบนตา (แอล) ชอตต์ (Colocacia esculenta (L) Schott) อยู่ในตระกูลอะราเซีย (Aracea) ที่ทราบมีเผือกอยู่กว่า ๒๐๐ พันธุ์ ในเมืองไทยนั้นมีหลายพันธุ์เช่นกัน พืชอีกชนิดหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า เผือก หนังสือพันธุ์ไม้แห่งประเทศไทย เล่ม ๑ ของกรมป่าไม้เรียกว่า ลกกะเซีย (lok-ka-sia) และมีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น ยัวเทีย (yautia) และแทนเนีย (tannia) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า แซนโทโซมา ซากิตทิโฟลเลียม (Xanthosoma sagittifollium) ลกกะเซีย เป็นเผือกหัวเล็ก เนื่องมาจากหัวที่เป็นแกนใหญ่ไม่สะสมแป้ง จึงใช้เฉพาะส่วนหัวแขนงเท่านั้น เผือกเป็นพืชมีอายุอยู่ได้หลายฤดู ลำต้นใต้ดินเจริญเติบโตกลายเป็นหัว และมีหัวเล็ก ๆ ล้อมรอบ หัวมีขนาดและรูปร่างต่างกันออกไป ปกติต้นสูง ๐.๔-๒ เมตร ใบใหญ่เป็นรูปหัวใจ มีขนาดสีต่าง ๆ กัน ใบเกิดจากใต้ดิน ดอกปกติประกอบด้วย ๒-๕ ช่อดอก อยู่ในก้านใบ ช่อดอกมีก้านยาว ๑๕-๓๐ ซม. ดอกบานทยอยกันเรื่องๆ ดอกตัวเมียมักจะไม่มี ดอกตัวผู้หนึ่งดอกมีก้านเกสรตัวผู้ ๒-๓ อัน ผลมีสีเขียว เปลือกบาง ไม่ค่อยมีเมล็ดเท่าที่ทราบเผือกที่ปลูกในฮาวาย นิวกินี และโดมินิกัน สามารถติดเมล็ดได้
จังหวัดที่ปลูกมาก ได้แก่ ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชัยนาท สมุทรสาคร รองลงไป ได้แก่ ภาคใต้ ปลูกมากในจังวัดสงขลา สุราษฎร์ธานี ชุมพร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปลูกมากในจังหวัดบุรีรัมย์ มหาสารคาม ส่วนภาคเหนือปลูกเผือกน้อยกว่าภาคอื่น ๆ ปลูกมากในจังหวัดน่าน
เผือกในเมืองไทยเท่าที่มีผู้จำแนกไว้มี ๔ ชนิด ได้แก่
๑. เผือกหอม เป็นชนิดหัวใหญ่ หนักหัวละประมาณ ๒-๓ กก. มีหัวเล็กติดอยู่กับหัวใหญ่เล็กน้อย ต้มรับประทานมีกลิ่นหอม กาบใบใหญ่สีเขียว
๒. เผือกเหลือง หัวขนาดย่อม หัวสีเหลือง
๓. เผือกไม้หรือเผือกไหหลำ หัวมีขนาดเล็ก
๔. เผือกตาแดง ที่ตาของหัวมีสีแดงเข้มมีหัวเล็ก ๆ ติดอยู่รอบหัวใหญ่ เป็นกลุ่มจำนวนมาก กาบใบและเส้นใบสีแดง

ฤดูปลูก/วิธีปลูก/การใส่ปุ๋ย


นำเต้า

น้ำเต้า : (bottle gourd)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagenaria siceraria Standl.

ชื่อเรียกในท้องถิ่น : คิลูส่า, มะน้ำเต้า



ลักษณะโดยทั่วไปของน้ำเต้าว่า เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ซึ่งอาจมีความยาวกว่า 10 เมตร ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีมือเกาะที่แยกออกเป็น 2 ทาง ใบมีขนาดใหญ่คล้ายรูปหัวใจ ผิวใบขนนุ่มทั้ง 2 ด้าน มีรอยหยักบริเวณใบ 5-9 หยัก ก้านใบยาวประมาณ 20 ซม. รากจะเป็นระบบรากตื้น ในส่วนของผลมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่



"ผลมีเนื้อในสีขาวหรือสีเขียวค่อนข้างจะนุ่ม เปลือกมีสีเขียวเป็นลาย จริง ๆ แล้วน้ำเต้ามีอยู่หลายสายพันธุ์ อาทิ น้ำเต้าพื้นบ้านเราน้ำเต้าทรงเซียน ซึ่งเป็นทรงที่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ ถ้าเราดูหนังจีนจะเห็นว่ามีน้ำเต้าทรงเซียนที่นักแสดงนำมาประกอบฉาก แต่น้ำเต้าพื้นบ้านเราก็สามารถนำมาตากแห้งเคลือบแล็กเกอร์ทำเป็นเครื่องประดับก็ได้แต่ไม่ค่อยนิยมกันเท่าไรนัก เนื่องจากผิดกันตามรูปทรง ส่วนใหญ่จะนิยมรับประทานมากกว่า"



แหล่งที่พบน้ำเต้าจะเห็นว่าสามารถปลูกที่ใดก็ได้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินและถ้านำไปปลูกก็จะขึ้นอยู่กับ
ผู้ที่ปลูกว่ามีการดูแลรักษามากน้อยเท่าใด นิยมใช้เมล็ดในการขยายพันธุ์



การปลูก จะต้องเตรียมดินให้มีการไถพรวน และยกร่องแปลงปลูกกว้างประมาณ 4 เมตร จะนิยมขุดหลุมปลูกให้กว้าง 15-20 เซนติเมตร ลึก 2-3 เซนติเมตร ขุดกลุมห่างกัน 2 เมตร แล้วนำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักมารองก้นหลุม หลังจากนั้นก็หยอดเมล็ดลงในหลุมปลูกที่เตรียมไว้ ในพื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะใช้เมล็ดน้ำเต้าจำนวน 1.5 กิโลกรัม หยอดหลุมละ 2-3 เมล็ด กลบด้วยดินร่วนให้มีความหนาประมาณ 1-2 เซนติเมตร นำฟางข้าวแห้งหรือหญ้าคาคลุมบนหลุมเพื่อรักษาความชื้นในดินให้มากที่สุด หลังจากนั้นรดน้ำให้ชุ่มไปเรื่อย ๆ ประมาณ 7- 10 วัน จนกว่าน้ำเต้าจะงอก หมั่นดูแลหากต้นน้ำเต้าขึ้นมาทั้งหมดให้ถอนทิ้งให้เหลือเพียง 2 ต้นก็พอ เพื่อให้เจริญเติบโตเต็มที่



การดูแลรักษาหลังการปลูก น้ำเต้าเป็นพืชที่มีระบบรากตื้น ต้องการความชื้นปานกลาง หลังจากต้นโตให้รดน้ำประมาณ 3-5 วัน/ครั้ง แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพของดินปลูกว่ามีความแห้งแล้งเพียงใด ถ้าอากาศร้อนมาก ๆ ดินปลูกเริ่มแห้งก้ต้องรดน้ำให้ถี่ขึ้น แต่ต้องคอยดูไม่ให้ดินแฉะมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรครากเน่า หลังปลูกไปได้ประมาณ 25-30 วัน หรือเริ่มมีใบจริง 4-5 ใบ จึงเริ่มใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่บริเวณโคนต้น ไม่ควรพรวนดินให้ลึกเกินไป เพราะอาจเกิดความเสียหายต่อระบบรากไปจนถึงต้นเลยทีเดียว



ในการกำจัดวัชพืช ควรจะมีการกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องในช่วงที่น้ำเต้ายังเล็กอยู่ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะคลุมพื้นที่ปลูกทั้งหมด จะช่วยลดการกำจัดวัชพืชลงได้บ้างบางส่วน



โรคและแมลง มีค่อนข้างน้อย เนื่องจากใบของน้ำเต้ามีกลิ่นเหม็น แมลงไม่ชอบ มีข้อควรระวังอย่างเดียวคือ เรื่องของการให้น้ำอย่าแฉะเกินไปจนทำให้เกิดโรคราก-โคนเน่า



การเก็บเกี่ยวผลผลิต หลังจากปลูกไปแล้วประมาณ 55-60 วัน ก็เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต ให้เราเลือกผลที่เหมาะที่จะนำมารับประทานมากที่สุด ให้สังเกตในช่วงหลังดอกบาน 6-7 วัน ให้เริ่มทยอยเก็บ จะเก็บในลักษณะวันเว้นวัน ทำเช่นนี้ไปจนหมดผลผลิต



การใช้ประโยชน์ของน้ำเต้า ผลสามารถนำมารับประทานกับน้ำพริก ผัดกับหมูและไข่ แกงส้ม สรรพคุณทางยา ใบ แก้ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เริมเป็นต้น



คุณสมบัติในการใช้รักษาโรคของน้ำเต้า
1. โรคเบาหวาน
2. ท่อปัสสาวะอักเสบ
3. โรคปอดอักเสบ จะใช้ส่วนที่เป็นเปลือกสดรับประทาน
4. แก้ปวดฝีในเด็ก โดยใช้น้ำเต้าหั่นเป็นชิ้น ๆ ผสมขิงต้มเป็นน้ำซุปรับประทาน
5. โรคลูกอัณฑะบวมให้ใช้ลูกน้ำเต้ามาต้มรับประทาน
6. โรคทางลำคอให้ใช้ลูกน้ำเต้าที่แก่ ๆ ตัดจุก แล้วใส่น้ำไว้รับประทานเป็นโรคประจำจะสามารถป้องกันรักษาโรคทางลำคอได้






จัดทำโดย : ดาราวรรณ ทวีศักดิ์บวรกุล





กระเทียม

กระเทียม (Garlic)

--------------------------------------------------------------------------------

สถานการณ์ทั่วไป
กระเทียมเป็นพืชเศรษฐกิจพืชหลักของประเทศนอกจากจะใช้ประกอบอาหารและยังเป็นพืชสมุนไพรรักษาโรคได้หลายชนิด ประเทศที่ผลิตกระเทียมได้มากคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ และอินเดีย สำหรับประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกระเทียม 150,000-190,000 ไร่ ผลผลิตประมาณ 9,000 ตัน/ปี ผลผลิตสดเฉลี่ย 1,700-1,900 กิโลกรัม (สด)


--------------------------------------------------------------------------------

ลักษณะทั่วไปของพืช
กระเทียมเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า หัว หัวมีกลีบย่อยหลายกลีบติดกันแน่นเนื้อสีขาวมีกลิ่นฉุนการปลูกจะใช้กลีบกระเทียมเป็นพันธุ์ปลูกได้ดีในดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำดีกระเทียมจะลงหัวในช่วงที่มีอากาศหนาว ดังนั้นจึงปลูกได้ดีเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย


--------------------------------------------------------------------------------

พื้นที่ส่งเสริม
พื้นที่เหมาะสมเชิงธุรกิจจังหวัด เชียงใหม่, ลำพูน, เชียงราย, ลำปาง,พะเยา, อุตรดิตถ์, แม่ฮ่องสอน, ศรีสะเกษ
พื้นที่ปลูกที่สำคัญ จังหวัด เชียงใหม่, ลำพูน, เชียงราย, ลำปาง, พะเยา, อุตรดิตถ์, แม่ฮ่องสอน, ศรีสะเกษ


--------------------------------------------------------------------------------

พื้นที่ปลูก ประมาณ 209,430 ไร่ ( พศ.2540 / 2541)
พันธุ์ที่ส่งเสริม กระเทียมพันธุ์เบาของศรีสะเกษ, กระเทียมพันธุ์เชียงใหม่, กระเทียมพันธุ์หัวใหญ่

ต้นทุนการผลิต/ไร่ 13,860 บาท/ไร่ ( พศ.2539 )


--------------------------------------------------------------------------------

ผลผลิต
ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 429,441 ตัน ( พศ. 2540 / 2541)
ผลผลิตเฉลี่ย 2,051 กก./ไร่ (พศ. 2540 / 2541)
ราคาที่เกษตรกรขายได้ 22 - 60 บาท/กก. (พศ. 2541)
ปริมาณที่ใช้ในประเทศ 429,416 ตัน (พศ. 2541)
การส่งออก ปริมาณ 25 ตัน มูลค่า 3.5 ล้านบาท ( พศ. 2540 )
การนำเข้า ปริมาณ - มูลค่า - ล้านบาท (พศ.- )

การปลูก
วิธีการปลูก
1. เตรีมแปลงกว้างประมาณ 1.20 เมตร ความยาวตามสภาพพื้นที่ ความสูงของแปลงประมาณ 20 เซนติเมตร
2. ใชัพันธุ์กระเทียมโดยฝังกลีบกระเทียมหลุมละ 1 กลีบ ลึกประมาณ 1 เซนติเมตร
3. ให้รดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 5-7 วัน/ครั้ง

ระยะปลูก 15-20 เซนติเมตร X 15-20 เซนติเมตร
จำนวนต้น/ไร่ -
การดูแลรักษา
การใส่ปุ๋ย
1. ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เช่นปุ๋ยคอก, ปุ๋ยหมัก, รองพื้นระยะเตรียมดิน ประมาณ 2-3 ตัน/ไร่
2. ปุ๋ยเคมีสูตร 10-10-15หรือ 13-13-21 อัตรา50-100 กก./ไร่
การให้น้ำ

1. โดยใส่น้ำขังแปลงและตักรดทุก 3-5 วัน/ครั้ง โดยสังเกตุจากใบกระเทียมถ้าเริ่มเหี่ยวต้องรีบให้น้ำทันที
การปฏิบัติอื่นๆ

การคลุมฟาง หลังปลูกกระเทียมแล้วให้คลุมฟางหนาประมาณ 2-3 นิ้ว เพื่อควบคุมการงอกของวัชพืช และควบคุมความชื้นในดิน ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโต

ศัตรูพืชที่สำคัญและวิธีการป้องกันกำจัด
1. โรค
1.1 โรคใบเน่าหรือแอนแทรกโนส จะทำให้ใบเป็นแผลเน่ายุบตัวและระบาดจนถึงทำให้หัวเน่า โดยใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไดโพลาแทน, แมนเชทดี, ไดเท็นเอ็ม-45 หรือ ชินโคโฟน ฉีดยาพ่นทุก 5-7วัน/ครั้ง
1.2 โรคใบจุดสีม่วง โรคนี้จะทำให้กะเทียมไม่ลงหัว ใบแห้งมีแผลจำนวนมากตามใบและจะแห้งตายไปในที่สุดป้องกันกำจัด ใช้ยากำจัดเชื้อราเช่น ไดเท็นเอ็ม-45, ชินโคโพล เดอโรชาล, นาวิสตินหรือไดโพลาแทนฉีดพ่นทุก5-7 วัน/ครั้ง
1.3 โรคหัวและรากเน่า กระเทียมเริ่มมีใบแก่เหลืองเหี่ยวแห้งไป กาบหัวช้ำเริ่มมีเส้นใยสีขาวขึ้นฟูอยู่บนแผลและตาม รากเน่าเป็นสีน้ำตาลจะทำให้หัวนิ่มเน่าและเนื้อเยื่อยุ่ยมีกลิ่นเหม็น
การป้องกันกำจัด
1. ให้ขุดหอมและดินที่เกิดโรครวบรวมไปเ ผาทำลายเสีย เพื่อป้อองกันมิให้ระบาดแพร่ทั่วไป
2. ในการปลูกหอมหรือพืชอื่นๆในปีต่อไป ในที่ๆมีโรคนี้ระบาด ควรทำการปรับปรุงแก้ไขดินเสียใหม่ โดยใส่ปูนขาวประมาณ 100-200 กก./ไร่ ก็จะช่วยให้โรคนี้ชะงักไปได้ระยะหนึ่งหรือหายไป
3. ใช้ยาเทอราคลอ, เทอราโซล หรือเทอราคลอซุปเปอร์เอกซ์ราดโคนต้น4). ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 5 ปี
1.4 โรคเน่าคอดิน ที่โคนต้นบริเวณเหนือพื้นดินขึ้นไปจะมีรอยช้ำเป็นจุดเล็กๆก่อนแล้วจึงขยายตัวขึ้นตามลำดับจนรอบต้น สังเกตดูจะเห็นรอยช้ำสีน้ำตาล ต้นกล้าจะหักพับและส่วนยอดก็จะแห้งตาย
การป้องกันกำจัด
1. หว่านเมล็ดบางๆเพราะถ้าแน่นเกินไปกล้าจะมีโอกาสเป็นโรคได้ง่ายและอย่ารดน้ำให้แฉะเกินไป
2. ถ้ามีโรคเริ่มระบาดเล็กน้อยใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น บลาสซิโคล, ไดเทนเอ็ม-45 ในอัตราที่กำหนดในฉลากสัก 2-3 ครั้ง หลังจากนั้นให้ใช้น้ำปูนใส่อย่างเจือจางรดเป็นระยะ


--------------------------------------------------------------------------------

2. แมลง
2.1 เพลี้ยไฟ จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใบกระเทียม ป้องกันกำจัดโดยใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เช่น เซฟวิน,พ็อส ฉีดพ่น

มะระจีน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Momordica charantia Linn.

ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae

ชื่ออังกฤษ : Balsam Pear, Bitter Cucumber, Leprosy Gourd, Bitter Gourd

ชื่ออื่นๆ : ผักเหย, ผักไห, มะร้อยร,ู มะห่อย, มะไห,่ สุพะซ,ู สุพะเด

ลักษณะ
ไม้เถา มีมือเกาะ ใบเป็นใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ กว้างยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร ขอบใบหยักเป็นซี่ห่างๆ ใบเว้าเป็นแฉกลึก 5-7 แฉก ใบและลำต้นมีขนสากอยู่ทั่วไป ดอกสีเหลือง ออกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน รูปแตร ปลายกลีบดอกแยกเป็น 5 แฉก เมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร มะระมี 2 ชนิด คือ มะระไทยหรือมะระขี้นก และมะระจีน ซึ่งต่างกันที่ลักษณะและขนาดของผล ผลมะระขี้นก มีขนาดเล็กกว่า ยาว 3-5 เซนติเมตร ผลรูปกระสวย ผิวขรุขระ สีเขียวเข้ม เมื่อสุกมีสีเหลือง ส่วนมะระจีนมีขนาดใหญ่กว่า เส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 เซนติเมตร ยาว 12-30 เซนติเมตร รูปทรงกระบอก สีเขียวอ่อน ผิวขรุขระ ผลมะระทั้งสองชนิดมีรสขม

การปลูก
ขุดหลุมกว้าง 20-30 เซนติเมตร ลึก 20-25 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 กลบทับด้วยดินบางๆ แล้วจึงหยอดเมล็ดลงในหลุมๆ ละ 3-5 เมล็ด กลบทับด้วยดินหนา ไม่เกิน 1 เซนติเมตร ปักค้างเพื่อให้ต้นเลื้อยขึ้นค้าง หลังจากที่ต้นกล้ามีใบจริงแล้ว ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 3 ต้น อายุการเก็บเกี่ยวมะระประมาณ 55-60 วัน

ประโยชน์ทางอาหาร : ยอดอ่อน ใบอ่อนและผลอ่อน-นึ่งหรือลวกให้สุก ทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกปลาร้าหรือน้ำพริกปลาทู

ประโยชน์ทางยา : แก้เบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ผลดิบ-กินแก้โรคตับอักเสบ ปวดหัวเข่า ม้าม อักเสบ ผลสุก-ใช้คั้นน้ำทาหน้าแก้สิว เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาเจริญอาหาร แก้โรคลมเข้าข้อหัวเข่าบวม เป็นยาบำรุงน้ำดี เป็นยาขับพยาธิในท้อง ส่วนน้ำคั้นของผลมะระ-แก้ปากเปื่อย ปากเป็นขุย บำรุงระดู



จัดทำโดย : ดาราวรรณ ทวีศักดิ์บวรกุล

โรคที่เกิดกับผักกาดขาว

โรค
1. โรคเน่าเละ (Soft rot)
สาเหตุ เกิด จากเชื้อแบคทีเรีย
ลักษณะอาการ เริ่มอาการของโรคเป็นจุดฉ่ำน้ำ ต่อมาจะเน่าอย่างรวดเร็ว ทำให้เนื้อเยื่อเปื่อยและเป็นน้ำภายในเวลา 2-3 วัน ผักจะเน่า ยุบตัวหมดทั้งต้นและหัว หรือฟุบแห้ง เป็นสีน้ำตาลอยู่ที่ผิวดิน อาการเน่าจะเกิดส่วนใดก่อนก็ได้ แต่โดยปกติจะเริ่มที่โคนกาบใบ หรือตรงกลางต้นก่อน สันนิษฐานว่าเชื้อราบางชนิดทำลายไว้ก่อน


โรคเน่าเละ

การป้องกันกำจัด
1. ป้องกันมิให้เกิดแผลในระหว่างเก็บเกี่ยวขนส่ง และการเก็บรักษา
2. ฉีดยาป้องกันแมลงและหนอน
3. ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุโบรอนผสมด้วย โดยใช้ปุ๋ยบอแรกซ์ อัตรา 10-20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
4. อาจใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น พวกสเตร์ปโตมัยซิน อากริไมซิน ฉีดพ่น

2. โรคเหี่ยวของผักกาดขาวปลี (Fusaarium wilt to Chinese Cabbage)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Fusarium Oxysporum
ลักษณะอาการ ผักจะมีใบล่างเหลือง และเริ่มสังเกตได้ง่าย คือ มีใบล่างเหี่ยวแห้งซีกใดซีกหนึ่ง ทำให้ใบเบี้ยว งอไปข้างที่ใบเหี่ยว ต่อมาใบทางซีกนั้นจะเหี่ยวเพิ่มขึ้น และเหี่ยวทั่วต้นในเวลาต่อมา หรือผักเจริญเติบโตแต่เพียงซีกเดียวก่อนแล้วเหี่ยวตาย เมื่อถอนดูรากจะขาดหลุดจากลำต้น เพราะผุเปื่อยเป็นสีน้ำตาล ในดินเหนียวและดินทรายมักพบโรคนี้มาก

การป้องกันกำจัด
1. ก่อนปลูกผักควรมีการเตรียมดินให้ดี มีการใส่ปูนขาวแก้ไขดินเป็นกรดก่อนปลูก
2. ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนมากในระยะต้นกล้า
3. ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับพื้นที่ดังกล่าว
4. ใช้ยาป้องกันกำจัดในโรคนี้มักได้ผลไม่คุ้มค่า

3. โรคเน่าคอดิน (Damping off)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Pythium SP.
ลักษณะอาการ โรคนี้จะเกิดเฉพาะในแปลงกล้าเท่านั้น การหว่านที่แน่นทึบอับลมและต้นเบียดกันมากมักจะเกิดโรค ต้นกล้ามักจะเกิดอาการเป็นแผลซ้ำที่โคนต้นระดับดิน เนื้อเยื่อตรงแผลเน่าและแห้งไปอย่างรวดเร็วเมื่อถูกแสงแดดทำให้ต้นกล้าหักพับ เพราะมีแผลซ้ำที่โคนต้นระดับดิน ต้นเหี่ยวแห้งตาย บริเวณที่เป็นโรคจะค่อย ๆ ขยายวงกว้างออกเป็นวงกลม


โรคเน่าคอดิน

การป้องกันกำจัด
1. ไม่ควรหว่านเมล็ดผักแน่นเกินไป
2. ใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราละลายน้ำในอัตราความเข้มข้นน้อย ๆ ราดลงไปบนผิวดินให้ทั่วสัก 1-2 ครั้ง เช่น เทอราคลอเบนฟอร์ด ซึ่งเป็นยาป้องกันกำจัดเชื้อราในดินโดยตรงจะมีผลยิ่งขึ้น หรือจะใช้ริคโดมิล เอ็มแซด72 ละลายน้ำรดก็ได้ผลดี หรือใช้ปูนใส่รดแทนน้ำในระยะที่เป็นต้นกล้าก็จะช่วยให้ต้นกล้าแข็งแรง และไม่ต้องใช้ยาอีกเลย

4. โรคใบด่างของผักกาดขาวปลี
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส Turnip mosaic Virus
ลักษณะอาการ ต้นที่เป็นโรคแสดงอาการใบด่างเขียว สลับเขียวเหลือง แคระแกรนตามบริเวณเส้นใบจะพบเป็นสีม่วงปะปนอยู่ เมื่อเป็นโรครุนแรงขึ้น ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเหลืองทั้งใบ และมีลักษณะบิดงอเล็กน้อย

การป้องกันกำจัด
1. ใช้เมล็ดที่ปราศจากโรค
2. กำจัดต้นที่แสดงอาการของโรคในระยะแรก โดยการเผาทำลาย
3. ป้องกันกำจัดแมลงพาหะพวกเพลี้ยอ่อนด้วยสารเคมี ไดเมทไทเอท ในอัตรา 30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร

5. โรคราน้ำค้าง
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา (Peroros Pora SP.)
ลักษณะอาการ ด้านบนใบเป็นรอยด่างสีเหลืองซีด ต่อมาแสดงอาการไหม้ทับใต้ใบปรากฏเส้นใยสีขาวเจริญขึ้นมา อาการลุกลามจากใบรอบนอกเข้าสู่ใบด้านใน หากเป็นรุนแรงทำให้ใบไหม้


โรคราน้ำค้าง

การป้องกันกำจัด
เมื่อเริ่มพบอาการให้ใช้สารเคมี ไดเมทเอ็ม หรือ อาโคนิล ฉีดพ่น หากมีการระบาดรุนแรงให้ใช้เอพรอน 35 ฉีดพ่น 1 ครั้ง

6. โรคใบจุด
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา (Altennaria SP.)
ลักษณะอาการ เป็นจุดค่อนข้างกลมสีน้ำตาล ลักษณะแผลเป็นวงซ้อนกัน

การป้องกันกำจัด
ห้ามใช้สารเคมี เบนเลท ฉีดพ่น หากมีระบาดมากให้ใช้สารเคมรอฟรัล สลับกับแอนทราโคลตามฉลากข้างภาชนะบรรจุ


มะเขือม่วง

ชื่อสามัญ : EGG PLANT

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum melongena L.

ชื่ออื่น : มะเขือกะโปกแพะ, มะเขือหำม้า, มะเขือจาน, มะเขือจาวมะพร้าว, มะแขว้งคม (เหนือ)

เป็นพืช ดั้งเดิม ของอินเดีย ปลูกง่าย การดู แลรักษา ไม่ยุ่งยาก ถ้าเอาใจใส่ ดีเก็บเกี่ยว ผลผลิตได้ ระยะนาน โรคและ ศัตรูมีน้อย ทนแล้ง ปลูกได้ ตลอดปี ทำเลที่เหมาะอยู่ ในระดับ 500-800 เมตร

พันธุ์ปลูก : Black King

การปลูก

- ผักตระกูลนี้ควรมีการเพาะกล้าก่อนย้ายลงปลูกในแปลง
- การเพาะกล้า เตรียมดินในกะบะเพาะหรือในถุงพลาสติก
- หยอดเมล็ดในถุงเพาะ ถุงละ 3-5 เมล็ด ถ้าเพาะในกะบะเพาะ ควรเว้นระยะระหว่างต้น 5 เซนติเมตร ระหว่างแถว 10 เซนติเมตร
- เมื่อเมล็ดงอกแล้วมีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกเหลือต้นกล้าแข็งแรงสมบูรณ์ไว้ 2 ต้น
- เมื่อกล้ามีใบจริง 5-6 ใบ หรือหลังเพาะกล้าประมาณ 30 วัน ย้ายกล้าลงแปลงปลูก
- เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้ หรือเริ่มเจริญเติบโต ใส่ปุ๋ยยูเรีย 1 ครั้ง
- เมื่อต้นเริ่มออกดอกใช้ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 12-24-12
- อายุการเก็บเกี่ยว มะเขือประมาณ 60-75 วัน หลังย้ายกล้า

ประโยชน์ทางอาหาร : ประกอบอาหารกิน ผลดิบ-เผาทานกับน้ำพริก

ประโยชน์ทางยา : ลำต้น,ราก-ต้มกินแก้บิด หรือคั้นน้ำล้างแผลเท้าเปื่อย ใบแห้ง-ป่นเป็นผง เป็นยาแก้โรคบิด ปัสสาวะขัด หนองใน ดอกสดหรือแห้ง เผาให้เป็นเถ้า แล้วบดละเอียด แก้ปวดฟัน ผลแห้ง-ทำเป็นยาเม็ด แก้ปวด แก้ตกเลือดในสำไส้ ขับเสมหะ ผลสด-ใช้พอกบริเวณที่เป็นแผลอักเสบ ฝีหนอง หรือโรคผิวหนังเรื้อรัง ผดผื่นคัน



ผักมันแกว

มันแกว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pachyrhizus erosus (L.) Urb.
วงศ์ : FABACEAE (LEGUMINOSAE)
ชื่อพ้อง : Pachyrhizus angulatus Rich ex DC.
Pachyrhizus bulbosus (L.) Kurz
ชื่อไทย :มันแกว*, เครือเขาขน, ถั่วกินหัว, ถั้วบ้ง, มันแกวละแวก, มันแกวลาว, มันละแวก, มันลาว, หมากบ้ง, หัวแปะกัวะ
ชื่ออังกฤษ : JICAMA, YAM BEAN
ปัจจุบันมีการปลูกมันแกวอยู่เกือบทั่วประเทศ มีปริมาณมากบ้างน้อยบ้างตามความเหมาะสมกับภูมิประเทศ มีปลูกมากอยู่ใน ๕๔ จังหวัด ปลูกมากที่สุดในภาคกลาง ประมาณ ๒๕,๐๐๐ ไร่ จังหวัดที่ปลูกมาก ได้แก่ สระบุรี ชลบุรี สมุทรสาคร รองลงไป ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉพียงเหนือ จังหวัดที่ปลูกมากได้แก่ มหาสารคาม หนองคาย ขอนแก่น ภาคเหนือปลูกไม่มากนัก ที่จังหวัดลำปาง เชียงราย ส่วนภาคใต้ปลูกมันแกวน้อยกว่าภาคอื่น ๆ มีปลูกมากในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ฤดูปลูก
มันแก้วขึ้นได้ในดินฟ้าอากาศหลายชนิดชอบอากาศค่อนข้างร้อน มีฝนปานกลาง ในอากาศที่หนาว ระยะเจริญเติบโตจะยาวนาน ในการผลิตหัวต้องการวันสั้น ถ้าปลูกในที่ที่มีวันยาวถึง ๑๔-๑๕ ชั่วโมง การเจริญเติบโตดี แต่ไม่ผลิตหัว ควรปลูกในระยะต้นถึงปลายฤดูฝน เพื่อเก็บหัวในฤดูแล้ว ถ้าปลูกฤดูแล้งหลังจากฝนหมดแล้ว จะมีหัวในเวลาไม่นานนัก เช่น ปลูกเดือนพฤศจิกายน จุเก็บหัวได้ในราวเดือนมกราคม หรือกุมภาพันธ์ แต่จะได้หัวเล็ก เพื่อให้ได้หัวโต ควรปลูกราวเดือนมิถุนายน
การเลือกและการเตรียมที่
มันแกวชอบดินที่มีการระบายน้ำดี มีการเตรียมดินดี ไม่ชอบดินเหนียว น้ำขัง ชอบดินร่วนทราย การเตรียมดินก็เป็นเช่นเดียวกับการปลูกพืชไร่อื่น ๆ มีการไถพรวน พรวนให้ดินร่วนซุยดี เก็บวัชพืชให้หมดและยกร่องเพื่อปลูกมันแกวบนสันร่อง
วิธีปลูก
ปลูกด้วยเมล็ดเป็นส่วนใหญ่ มีบางครั้งปลูกโดยใช้หัว เพื่อรักษาลักษณะที่ดีไว้ ปลูกหลุมละ ๒-๓ เมล็ด ในบางประเทศปลูกโดยใช้ระยะระหว่างแถว ๖๐-๗๕ ซม. ระยะระหว่างหลุม ๓๐-๔๐ ซม. อินเดียและฟิลิปปินส์ ใช้ระยะระหว่างแถว ๑๕-๒๐ ซม. ระหว่างต้น ๑๐ ซม. ผลการทดลองใช้ระยะ ๑๕x๑๕ ซม. ให้ผลดี ประเทศไทยปลูกโดยวิธียกร่อง ระยะระหว่างแถว ๘๐-๑๐๐ ซม. ระหว่างต้นแตกต่างกัน ชนิดหัวเล็กต้นห่างกัน ๑๐-๒๐ ซม. ชนิดหัวใหญ่ห่างกัน ๓๐-๕๐ ซม. ถ้าไม่ยกร่องระยะระหว่างแถวแคบกว่านี้เล็กน้อย
ในเนื้อที่ ๑ ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ ๘ กก. หรือประมาณครึ่งถัง

การทำค้าง
มันแกวที่ปลูกฤดูฝน สิ่งสำคัญในการปฏิบัติได้แก่ การทำค้างให้ต้นมันแกวเลื้อย ใช้ไม้ไผ่หรือกิ่งไม้สูงประมาณ ๒-๓ เมตร ปัดให้ต้นมันแกวเลื้อยและช่วยจัดให้ยอดของมันแกวเลื้อยขึ้นไปตามไม้ที่ปัก การปลูกมันแกวฤดูแล้งไม่ต้องทำค้าง
การพรวนดิน
ถ้าปลูกฤดูฝน ควรพรวนดินพร้อมกับกำจัดวัชพืชไม่ให้วัชพืชขึ้นปกคลุม ต้นมันแกวปำติต้องกำจัดวัชพืช ๒-๓ ครั้ง สำหรับการปลูกมันแกวในฤดูแล้งไม่ให้น้ำ ไม่ต้องพรวนดินและกำจัดวัชพืช
การเด็ดยอด
การปลูกมันแกวในฤดูฝนนั้นจำเป็นต้องเด็ดยอดและดอก ถ้าไม่เด็ดมันแกวจะเจริญเติบโตทางต้น ใบ ดอก ฝัก ทำให้มีหัวเล็ก การเด็ดยอดและดอกจึงเป็นสิ่งที่ต้องกระทำ ถ้าปลูกต้นฤดูฝนในราวเดือนมิถุนายน ทำการเด็ดยอด ๓ ครั้ง ครั้งแรกอายุ ๒ เดือน ขณะที่เถายาวประมาณ ๑-๑.๕ เมตร ครั้งที่สอง อายุประมาณ ๓ เดือน และครั้งที่สามอายุประมาณ ๔ เดือน หรือจะเด็ดเพียง ๒ ครั้ง เมื่ออายุ ๒ กับ ๔ เดือนก็ได้ ถ้าปลูกปลายฝนเด็ดยอดครั้งเดียวเป็นการเพียงพอ แต่ถ้าปลูกหลังฤดูฝน ไม่ต้องทำการเด็ดยอดเลย สำหรับการปลูกมันแกวเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ทำพันธุ์ปลูก ไม่ต้องทำการเด็ดยอดและดอก ปล่อยให้เจริญเติบโตตามปกติ เพื่อให้ได้เมล็ดมากและเมล็ด มีคุณภาพดีในทางปฏิบัติกสิกรเด็ดยอดโดยการใช้ไม้คล้ายไม้เรียวหวดให้ยอดขาด หรือหักไม่ให้เจริญเติบโตต่อไป

การใส่ปุ๋ย
ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยคอก ปริมาณมากน้อยขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน แต่ละแห่งในต่างประเทศใช้ปุ๋ยผสม เกรด ๑๒-๒๔-๑๒ ในอัตรา ๕๐-๖๕ กก./ไร่ ก่อนปลูกและเพิ่มแอมโมเนียมซัลเฟตอีกประมาณ ๓๐ กก./ไร่ เมื่อต้นมันแกวเริ่มเลื้อย
โรคและแมลง
ไม่ปรากฏว่ามีโรคและแมลงที่รบกวนต้นมันแกวมากนัก
ผลผลิตโดยทั่วไปในเนื้อที่ ๑ ไร่ จะได้หัวมันแกวสดประมาณ ๒-๖ ตัน
การเก็บหัวและรักษา
มันแกวที่ปลูกฤดูฝนจะแก่เมื่ออายุประมาร ๕-๘ เดือน แต่ถ้าจะเก็บเมล็ดต้องใช้เวลาประมาณ ๑๐ เดือน ให้สังเกตดูใบมันแกว เมื่อใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แสดงว่าเริ่มเก็บหัวได้แล้ว มันแกวชนิดหัวเล็กปลูกหลังฤดูฝน เก็บได้เมื่ออายุ ๓ เดือน
ถ้าปลูกน้อย เก็บโดยการขุดด้วยจอบ เสียม ถ้าปลูกมากอาจใช้ไถพลิกหัวมันแกวขึ้นมา เมื่อเก็บหัวมาแล้วล้างน้ำให้สะอาด แล้วส่งตลาดหรือเก็บรักษาไว้ต่อไป
การเก็บรักษามันแกวที่ดีวิธีหนึ่ง คือ ไม่ขุดขึ้นจากดิน วิธีนี้จะสามารถทิ้งหัวมันแกวไว้ในดินได้อีกประมาร ๒-๓ เดือน โดยไม่ให้น้ำ หัวจะไม่เสีย เพียงแต่แห้งไปบ้าง และจะมีรสหวานมากขึ้น ถ้าขุดขึ้นมาแล้วจะเก็บรักษาได้โดยเก็บไว้ในอุณหภูมิ ๐ องศาเซลเซียส จะเก็บได้นานประมาณ ๒ เดือน

ประโยชน์ของมันแกว
องค์ประกอบของส่วนต่าง ๆ ของมันแกว มีดังนี้
หัว หัวมันแกวประกอบด้วยแป้งและน้ำตาล และมีวิตามิน ซี มาก ผลจากการวิเคราะห์ประกอบด้วย ความชื้นร้อยละ ๘๒.๓๘ โปรตีนร้อยละ ๑.๔๗ ไขมันร้อยละ ๐.๐๙ แป้งร้อยละ ๙.๗๒ น้ำตาลร้อยละ ๒.๑๗ non-reducing sugar ร้อยละ ๐.๕๐ เหล็ก (Fe) ๑.๑๓ มิลลิกรัมต่อ ๑๐๐ กรัมของโปรตีนที่เกินได้ แคลเซียม (Ca) ๑๖.๐ มิลลิกรัม ไทอามีน ๐.๕ มิลลิตกรัม ไรโบฟลาวิน ๐.๐๒ มิลลิกรัม กรดเอสโคนิก ๑๔ มิลลิกรัม
ฝัก ฟิลิปปินส์ทำการวิเคราะห์ฝักปรากฏว่าประกอบด้วยความชื้อร้อยละ ๘๖.๔ โปรตีนร้อยละ ๒.๖ ไขมันร้อยละ ๐.๓ คาร์โบไฮเดรตร้อยละ ๑๐.๐ เส้นใยร้อยละ ๒.๙ เถ้าร้อยละ ๐.๗ แคลเซียม ๑๒๑ มิลลิกรัม/๑๐๐ กรัม ฟอสฟอรัส (P) ๓๙ มิลลิกรัม เล็ก ๑.๓ มิลลิกรัม วิตามินเอ 575 IU ไทอามิน ๐.๑๑ มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน ๐.๐๙ มิลลิกรัม ไนอาซิน ๐.๘ มิลลิกรัม
เมล็ด ประกอบด้วยน้ำมันที่ใช้กินได้ร้อยละ ๒๐.๕-๒๘.๔ ผลการวิเคราะห์เมล็ดประกอบด้วยความชื้นร้อยละ ๖.๗ โปรตีนร้อยละ ๒๖.๗ น้ำมันร้อยละ ๒๗.๓ คาร์โบไฮเดรตร้อยละ ๒๐.๐ เส้นใยร้อยละ ๗.๐ เถ้าร้อยละ ๓.๖๘ เมล็ดแก่เป็นพิษเนื่องจากประกอบด้วยโรตีโนนร้อยละ ๐.๑๒-๐.๔๓ และไอโซฟลาวาโนน และ ทุฟูราโน -๓- ฟีนิลดูมาริน
ส่วนที่ใช้เป็นประโยชน์ของมันแกว ส่วนใหญ่คือหัว หัวสดใช้เป็นอาหาร เป็นผลไม้และผัก หรือจะใช้หุงต้มปรุงอาหารก็ได้ หัวเล็ก ๆ หรือเศษของหัวใช้เลี้ยงสัตว์ ฝักอ่อนต้มรับประทานเป็นผัก เมล็ดใช้ทำพันธุ์ เมล็ดแก่ป่นหรือบดใช้เป็นยาฆ่าแมลงหรือใช้เป็นยาเบื่อปลาได้ ใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ฝักแก่และเมล็ดแก่เป็นพิษต่อการบริโภคของคนและสัตว์ เนื่องจากเมล็ดมีน้ำมัน ซึ่งคล้ายน้ำมันจากเมล็ดฝ้าย น้ำมันจากเมล็ดมันแกวกินได้ ต้นหรือเถามันแกวมีความเหนียว ในประเทศฟิจิ ใช้ทำแห อวน ได้




ที่มา : http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK5/chapter5/t5-5-l3.htm#sect1a
จัดทำโดย : ดาราวรรรณ ทวีศักดิ์บวรกุล



สมัครงาน

สมัครงาน
--------------------------------------------------------------------------------
สมัครงาน กับ JobTH.com แหล่ง หางาน สมัครงาน อันดับ 1 ของประเทศ ซึ่งเราได้รวมรวม ตำแหน่งงานว่าง จากบริษัทในประเทศมาไว้มากกว่า 30,000 บริษัท ค้นหาง่าย แบ่งและจัดหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจน ช่วยให้ท่าน หางาน และ สมัครงาน ได้ง่ายมากขึ้นกว่า เดิมมาก จากการที่ต้อง เปิดหนังสือสมัครงาน แล้วไล่หางานที่ตนเองต้องการ ซึ่งเสียเวลาและค่าใช้จ่าย อย่างมาก สมัครงาน กับเราวันนี้ ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ แอบแฝงทั้งสิ้น

1. สะดวกรวดเร็ว
ใช้เวลา หางาน และ สมัครงาน อย่างรวดเร็ว เพราะมีระบบ การหาข้อมูล แบบจัดเป็นหมดหมู่ และ ระบบค้นหา และ สมัครงาน ออนไลน์ เพียงแค่สมัครงาน กับเรา ใบสมัครของท่านจะส่งถึงบริษัทในทันที โดยไม่ต้องรอขั้นตอนการขนส่งเหมือนกับการส่งจดหมาย สมัครงาน แบบปกติ ซึ่งทำให้สะดวก และรวดเร็วขึ้นอย่างมาก

2. ประหยัดค่าใช้จ่าย
ไม่ต้องเสียเงิน เดินทางไปที่บริษัท ที่ต้องการ สมัครงาน โดยตรง เพียงแค่ เข้าระบบการ สมัครงานออนไลน์ของเรา ก็สามารถ สมัครงาน หลายๆ บริษัทได้เพียงไม่กี่อึดใจ

3. ไม่พลาดตำแหน่งงานใหม่ๆ ในประเภทงานที่ท่านต้องการ
เรามีระบบ การส่ง อีเมล ตำแหน่งงานว่าง ที่มาใหม่ให้ ทุกๆ อาทิตย์ ในสาขา และ ประเภทงานที่ท่านต้องการ เพียงแค่ สมัครงาน ผ่านระบบของเรา ทำให้ท่านไม่พลาดกับตำแหน่งงานใหม่ และ ยังสามารถรู้และ สมัครงาน ได้ก่อนใคร เพิ่มโอกาสในการได้งานของท่านมากขึ้น

4. ได้รับการติดต่อจากบริษัทอย่างรวดเร็ว
เพราะใบสมัครของท่าน ส่งถึงบริษัทที่ท่าน สมัครงาน ในทันที ทำให้บริษัทที่สนใจ ในใบสมัครของท่าน ติดต่อกลับอย่างรวดเร็วเช่นกัน ช่วยให้ประหยัดเวลาทั้งสองฝ่าย และเรายังมีระบบ นัดสัมภาษณ์งานผ่านระบบ SMS ซึ่งช่วยให้การติดต่อจากบริษัทส่งถึงมือท่านอย่างรวดเร็ว

5. บริการทั้งหมด ฟรี!!
ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ แอบแฝงทั้งสิ้น เป็นบริการฟรี ทั้งหมด ในทุกบริการ ในการ หางาน และ สมัครงาน


>> สมัครสมาชิกเพื่อรับสิทธิพิเศษ

ประโยชน์ความซ้อน

ประโยคความซ้อนประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว ประกอบด้วยประโยคความเดียวที่มีใจความสำคัญ เป็นประโยคหลัก (มุขยประโยค) และมีประโยคความเดียวที่มีใจความเป็นส่วนขยายส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคหลัก เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยคหลัก (อนุประโยค) โดยทำหน้าที่แต่งหรือประกอบประโยคหลัก ประโยคความซ้อนนี้เดิม เรียกว่า สังกรประโยคอนุประโยคหรือประโยคย่อยมี 3 ชนิด ทำหน้าที่ต่างกัน ดังต่อไปนี้1. ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่แทนนาม (นามานุประโยค) อาจใช้เป็นบทประธานหรือบทกรรม หรือส่วนเติมเต็มก็ได้ ประโยคย่อยนี้เป็นประโยคความเดียวซ้อนอยู่ในประโยคหลักไม่ต้องอาศัยบทเชื่อมหรือคำเชื่อมตัวอย่าง • คนทำดีย่อมได้รับผลดีคน...ย่อมได้รับผลดี : ประโยคหลักคนทำดี : ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทประธาน • ครูดุนักเรียนไม่ทำการบ้านครูดุนักเรียน : ประโยคหลักนักเรียนไม่ทำการบ้าน : ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทกรรม2. ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายประธานหรือบทขยายกรรมหรือบทขยายส่วนเติมเต็ม (คุณานุประโยค) แล้วแต่กรณี มีประพันธสรรพนาม (ที่ ซึ่ง อัน ผู้) เชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อยตัวอย่าง • คนที่ประพฤติดีย่อยมีความเจริญในชีวิตที่ประพฤติ ขยายประธาน คนคน...ย่อมมีความเจริญในชีวิต : ประโยคหลัก(คน) ประพฤติดี : ประโยคย่อย • ฉันอาศัยบ้านซึ่งอยู่บนภูเขาซึ่งอยู่บนภูเขา ขยายกรรม บ้านฉันอาศัยบ้าน : ประโยคหลัก(บ้าน) อยู่บนภูเขา : ประโยคย่อย3. ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายคำกริยา หรือบทขยายคำวิเศษณ์ในประโยคหลัก (วิเศษณานุประโยค) มีคำเชื่อม (เช่น เมื่อ จน เพราะ ตาม ให้ ฯลฯ) ซึ่งเชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อยตัวอย่าง • เขาเรียนเก่งเพราะเขาตั้งใจเรียนเขาเรียนเก่ง : ประโยคหลัก(เขา) ตั้งใจเรียน : ประโยคย่อยขยายกริยา • ครูรักศิษย์เหมือนแม่รักลูกครูรักศิษย์ : ประโยคหลักแม่รักลูก : ประโยคย่อย (ขยายส่วนเติมเต็มของกริยาเหมือน) ที่มา : ศรีโพธิ์พันธุ์กุล.ชนิดและหน้าที่ของประโยค.http://www.oknation.net/blog/thai-lord/2007/05/16/entry-1 (เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2552)

ประโยชน์ดอกมะลิ

ประโยชน์ของดอกมะลิ

มะลินอกจากจะเก็บดอกมาร้อยเป็นพวงมาลัย ทำเป็นดอกไม้แห้ง หรือนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหยแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง และในดอกมะลิมีส่วนที่เป็นน้ำมันอยู่ 0.2-0.3% ดอกมีรสเผ็ด หวาน ฤทธิ์อุ่น ส่วนรากมีรสขม ฤทธิ์อุ่น มีพิษ ดอก มีสรรพคุณแก้อาการท้องร่วง ตาแดง ราก เป็นยาแก้ปวด ทำให้ชา ฟันผุ ฟกช้ำ นอนไม่หลับ
และตำรับอย่างง่ายๆ มีดังนี้ เยื่อตาขาวอักเสบ หรือตาแดง : ดอกมะลิสดล้างให้สะอาด ต้มจนเดือด สักครู่ นำน้ำที่ได้ใช้ล้างตา ปวดกระดูก ปวดกล้ามเอ็น : รากมะลิสดทุบให้แหลกคั่วกับเหล้าจนร้อน ใช้พอกบริเวณที่ปวด
ปวดฟันผุ : รากมะลิตากแห้งบดเป็นผง ผสมกับไข่แดงที่ต้มสุกแล้วจนได้ยาเหนียวข้น ใส่ในรูฟันผุ ข้อควรระวังอย่างหนึ่งคือ รากมะลิมีพิษ ไม่ควรใช้รับประทานหรืออาจใช้แต่น้อย เช่น ใช้รากมะลิสดไม่เกิน 1.5 กรัม ฝนกับน้ำใช้ดื่มแก้อาการนอนไม่หลับ
มะลิซ้อน ดอกสด ใช้รักษาโรคตาเจ็บ แก้ไข้ตัวร้อน แก้หวัด ดอกแห้ง ใช้ปรุงเป็นสารแต่งกลิ่น ใบสด นำมาตำให้ละเอียดจะช่วยรักษาแผลพุพองและแผลฝีดาษ ต้น ใช้รักษาโรคคุดทะราด ขับเสมหะและนำมาฝนใช้แก้ ปวด รักษาโรคร้อนในและอาการเสียดท้องหิต ราก นำมาฝนใช้แก้ปวด รักษาโรคร้อนในและอาการเสียดท้อง มะลิวัลย์ ราก ใช้เป็นยาถอนพิษต่าง ๆ ได้
จากการที่มีการนำมะลิมาใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน จึงทำให้มะลิเป็นไม้ดอกที่มีความสำคัญทางการค้ามากขึ้น พื้นที่ปลูกที่สำคัญของไทย ได้แก่ จังหวัดนครปฐม นครสวรรค์ พิษณุโลก ลำพูน หนองคาย และสมุทรสาคร การจำหน่าย
ที่มา www.geocities.com
ชาดอกมะลิ

ตำรายาไทยจัดดอกมะลิอยู่ในเกสรทั้ง ๕ ทั้ง ๗ และ ๙ ใช้มะลิลา ชามะลิลามีรสหอมเย็น ช่วยลดความเครียด บำรุงหัวใจ แก้ไข้ แก้ร้อนใน แก้ปวดท้องบิด


ชา เครื่องดื่มสีใสหอมกรุ่น เพื่อนที่ดีช่วยปลอบประโลมจิตใจและสุขภาพที่เหนื่อยล้าของทุกคนนอกจากชาที่ได้จากการนำใบไม้ต่างๆมาตากแห้งหรืออบแล้ว วันนี้เรายังมีชาดอกไม้ เครื่องดื่มธรรมชาติจากดอกไม้หอมหวานนานาชนิด ที่ให้ทั้งความงามและการบำบัด ทั้งดอกไม้บางอย่างยังมีก็ยังมีส่วนผสมสำคัญของการปรุงน้ำหอมเช่นดอกกุหลาบ ดอกลาเวนเดอร์ ให้ชาดอกไม้ถ้วยนั้นหอมหวานยากจะลืมเลือน คุณอาจใช้กลีบดอกไม้ผสมกับสมุนไพรอื่นๆเพื่อให้ได้ชาที่เป็นเอกลักษณ์ตามใจชอบเช่นนำดอกลาเวนเดอร์ที่อบแห้งมาผสมกับมินท์หรือกลีบกุหลาบหอมกรุ่นผสมกับการพลู ทั้งสองนี้มีสรรพคุณช่วยคลายเครียดและความเหนื่อยล้า ทั้งช่วยระบบการย่อยได้ดี

ชาดอกไม้กับสุขภาพว่ากันว่า การดื่มชานั้นเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพมากที่สุดหากทำได้สม่ำเสมอก็แทบไม่ต้องบริโภคอาหารเสริมอื่นๆเลยเพราะในน้ำร้อนจัดที่เราแช่ใบชาหรือกลีบดอกไม้ไว้ระยะหนึ่งที่เรียกว่าการทำ herbal infusion นั้นจะมีวิตามินและแร่ธาตุครบถ้วน โดยเฉพาะหากเป็นชาที่ขายในแบบ loose form คือไม่ได้บรรจุในซองแช่ที่เป็นแพคเล็กๆสำเร็จรูปด้วยแล้ว ก็จะยิ่งให้ประสิทธิภาพทีดีกว่าเพราะทั้งใบและกลีบดอกไม้นั้นๆจะปลดปล่อยน้ำมันธรรมชาติที่มีสารโภชนาการการและวิตามินได้มากกว่าและชาดอกไม้ก็อ่อนโยนพอที่จะใช้บริโภคประจำวันโดยปราศจากผลข้างเคียงให้ต้องวิตก หากคุณมีสุขภาพเป็นปกติอยู่แล้ว

เก็บดอกไม้มาทำชาเราใช้กลีบดอกไม้หรืออาจใช้ดอกไม้ทั้งดอก หากเป็นดอกไม้ชนิดดอกเล็กๆ หากปลูกเองจะปลอดภัยจากสารเคมีมากที่สุด เมื่อเก็บมาแล้วล้างดอกไม้ให้สะอาด ผึ่งในตะแกงโปร่งๆให้แห้ง เด็ดเป็นกลีบๆตากไว้ในที่โปร่งมีอากาศระบายและแสงแดดส่องทั่วถึงไม่ร้อนจัดเกินไป ทิ้งไว้ประมาณ 8 ถึง 10 ชั่วโมง เมื่อแห้งตมที่ต้องการจึงใส่ขวดโหลเก็บไว้

วิธีการทำชาดอกไม้ สิ่งที่สำคัญที่จะให้ได้มาซึ่งชาดอกไม้นั่นก็คือดอกไม้ต้องแห้งสนิท ขั้นตอนจึงอยู่ที่การทำให้ดอกไม้ที่เราประสงค์จะให้เป็นชานั้น "แห้ง" ซึ่งก็คือ 1. การเลือก ดอกไม้ที่คุณเลือกมา ต้องแน่ใจว่าปราศจากสารจากยาฆ่าแมลง ล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นให้นำไปผึ่งบนกระจาดหรือตะแกรงจนสะเด็ดน้ำ แล้วเด็ดเอาเฉพาะกลีบ 2. ใส่ตะแกรงตากไว้ในที่ที่มีอากาศระบาย มีแดดรำไร จนกระทั่งกลีบดอกไม้แห้งสนิท ควรระวังสักนิดนะค่ะอย่าให้โดนแดดแรง ๆ เพราะจะทำให้ น้ำมันหอมระเหยและคุณค่าต่าง ๆ เสียไปได้ 3. สุดท้ายก็เป็นเรื่องของการเก็บรักษา ควรเก็บเอาไว้ในโหลสูญญากาศ เลี่ยงแสงสว่าง ความร้อนและความชื้น เมื่อถึงเวลาที่ต้องการจะได้ชาร้อนสักถ้วย ให้ใช้ช้อนที่แห้งสนิทตัก อย่าใช้มือหยิบ จะช่วยคงคุณค่าและความหอมไว้ได้นานมากขึ้น

สัดส่วนชาดอกไม้ไม่มีสัดส่วนที่แน่นอน แล้วแต่ความชอบของแต่ละคนโดยปกติใช้ชาดอกไม้ประมณ 1 ช้อนโต๊ะต่อชา 1 ถ้วยควรใส่กลีบดอกไม้ลงในถ้วยก่อนแล้วจึงเทน้ำร้อนลงผสมไม่ควรใช้น้ำเดือดๆ เพราะอาจทำให้ยางดอกไม้ออกมาจนเหม็นเขียวได้ ยกกาสูงๆเวลาเทน้ำร้อนเพื่อให้ออกซิเจนหมุนเวียน แช่กลีบดอกไม้ไว้ไม่ควรเกิน 5 นาทีเพราะหากนานกว่านั้นอาจเหม็นเขียวได้สำหรับดอกไม้บางชนิด ตักกลีบออกและดื่มตามชอบ หากจะทำไว้มากๆและเทใส่ที่ทำน้ำแข็งก็จะได้น้ำแข็งกลิ่นดอกไม้หอมชื่นใจ

วิธีชงชาดอกไม้เหล่านี้คือเคล็ดลับในการชงชาดอกไม้ได้ประโยชน์ที่สุด1. ใช้แช่แต่น้ำกรองเท่านั้นหรือจะน้ำแร่ก็ได้ ส่วนน้ำจากก๊อกจะมีความเป็นด่างเกินไปและขัดขวางพลังของสารอาหารธรรมชาติในดอกไม้2. เก็บชาดอกไม้ไว้ในโหลแก้วที่มียางปิดสูญญากาศปิดมิดชิดเลี่ยงการวางชาไว้ใกล้แสงสว่างหรือที่ๆมีความชื้นสูงจะเก็บชาไว้ได้นานหลายเดือน การเก็บในตู้เย็นก็ช่วยยืดอายุชาดอกไม้ได้ดี3. ควรปล่อยให้ชาแช่อยู่ในน้ำประมาณ 5 นาทีก่อนจึงค่อยรินออกจากถ้วยหากต้องการเติมความหวานก็ให้เติมน้ำผึ้งจะดีกว่าน้ำตาล เพื่อไม่ให้ความหอมและรสชาติดอกไม้เปลี่ยนไป

ที่มา www.samunpri.com

สปามะลิ
สมัยก่อนนั้นมะลิได้ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นหัวน้ำมันหอมเพื่อการดูแลผิวพรรณ และเป็นน้ำหอมประทินโฉมซึ่งมีแต่เฉพาะบุคคลชั้นสูงเท่านั้น จนกระทั่งในปัจจุบันกลิ่นและน้ำมันจากมะลิได้ถูกนำมาใช้ในวงการสปาเพื่อบำรุงผิว และประทินโฉม ดอกมะลิ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน อินเดีย และ อิหร่าน จนกระทั่งดอกมะลิได้ชื่อว่าเป็น ราชาของหัวน้ำหอม เพราะความมีกลิ่นหอมนี่เอง จึงทำให้ผู้คนนิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมความงาม แต่เนื่องจากการเก็บดอกมะลิเพื่อนำมากลั่นเป็นหัวน้ำหอมนั้นจะต้องเก็บด้วยมือและทำเฉพาะตอนกลางคืนเท่านั้น เพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีทั้งปริมาณและความหอม เพราะกว่าจะได้น้ำมันแต่ละหยดนั้นต้องใช้มะลิจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว หัวน้ำมันหอมมะลิเพียง 1 ปอนด์ หรือ 0.45 กก. นั้นต้องใช้ มะลิสดถึง 1,000 ปอนด์ หรือ 454.5 กก. หรือประมาณ 3.5 ล้านดอกเลยทีเดียว จึงทำให้ในอดีตมีเพียงชนชั้นสูงเท่านั้นที่มีโอกาสได้ชื่นชมและบำรุงผิวด้วยน้ำมันและกลิ่นหอมของมะลิ แต่ต่อจากนี้ไปคนทั่วไปก็มีโอกาสสัมผัสกับน้ำมันกลั่นจากดอกมะลิแล้ว เมื่อเซ็นทารา สปา ได้รังสรรค์สปามะลิ มาบริการให้แก่ทุกเพศ ทุกวัย แม้แต่เด็กก็ยังปลอดภัยและสามารถใช้บริการได้ รวมถึงการวิจัยของสหรัฐอเมริกา ได้ยืนยันว่าหัวน้ำหอมดอกมะลิมีคุณสมบัติช่วยบำรุงผิวทุกประเภท ทั้งผิวมัน ผิวแห้ง และผิวที่อ่อนเยาว์ อีกทั้งมีฤทธิ์ที่สามารถยับยั้งแบคทีเรีย จึงช่วยยับยั้งการเกิดสิว และควบคุมความสมดุลของผิว ไม่ให้ผิวแห้งหรือมันจนเกินไป ไม่ใช่แค่น้ำมันดอกมะลิเท่านั้นที่มีประโยชน์ กลิ่นขอดอกมะลิก็มีคุณสมบัติที่ให้ความผ่อนคลาย ช่วยบรรเทาความรู้สึกห่อเหี่ยว กลุ้มใจ หรือเครียด ทำให้รู้สึกเบิกบานใจมากยิ่งขึ้น สำหรับที่เซ็นทารา สปา นั้นไม่เพียงแค่การนวดตัวด้วยน้ำมันหอมมะลิ (Warm Jasmine Massage) ด้วยเทคนิคแบบ ลากยาว และ กดลึก ในแบบฉบับของเซ็นทารา สปาเท่านั้น แต่ยังมีการเตรียมผิวก่อนการนวดน้ำมันด้วยส่วนผสมระหว่างข้าวหอมมะลิบดแช่ในน้ำมันหอมมะลิ (Jasmine Rice Body Polish) เพื่อนำมาขัดผิวด้วยเทคนิค วงกลม ของเซ็นทารา เพื่อขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว และช่วยการหมุนเวียนของเลือด นอกจากนั้นยังมีการบำรุงผิว และปรับความสมดุลของผิวด้วย การนวดด้วยน้ำมันหอมมะลิกับครีมบำรุงผิวสูตรเซ็นทารา (Balancing Jasmine Cocoon) อีกด้วย

สรรพคุณดอกแค

แค ชื่อสามัญ Vegetable Humming Bird , Cork Wood Tree เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “แคบ้าน” อีกทั้งยังมีแคฝรั่ง ซึ่งเป็นไม้ดอกไม้ประดับ แคเป็นต้นไม้โบราณที่อยู่คู่ครัวของทุกท้องถิ่น แต่ละครัวมีวิธีการปรุงอาหารจากส่วนต่างๆ ของแคแตกต่างกันออกไป แต่อาหารที่รู้จักคุ้นเคยกันอย่างดีทุกครัวเรือน คือ “แกงส้มดอกแค”ชื่อวิทยาศาสตร์ของแค คือ Sesbania grandiflora (L.) Pers. วงศ์ PaPilionaceae เป็นต้นไม้พื้นเมืองของ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ประเภทไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 3-10 เมตร โตเร็วทั้งในที่แห้งและชุ่มชื้น มักขึ้นอยู่ตามป่าละเมาะ ตามหัวไร่ปลายนา และในบริเวณบ้าน
ลักษณะทั่วไป
แคเป็นต้นไม้พื้นบ้าน เป็นต้นไม้เนื้ออ่อน ปลูกได้ในทุกพื้นที่ ทั้งดินเหนียวและดินปนทราย นิยมปลูกเป็นรั้วบ้าน คันนา ริมถนน และในบริเวณบ้าน หรือปลูกไว้เพื่อปรับพื้นที่ให้มีปุ๋ย เพราะใบแคที่ผุแล้ว ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ส่วนที่นำมารับประทานได้ มียอดอ่อน ดอกอ่อน ใบอ่อน และฝักอ่อน ออกในช่วงฤดูฝน ส่วนดอกอ่อนจะออกในช่วงฤดูหนาว ดอกแค 100 กรัม หรือ 1 ขีด ให้พลังงานต่อร่างกาย 10 กิโลแคลอรี มีเส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก แคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง และวิตามินซี การรับประทานดอกแคจะทำให้ร่างกายได้เส้นใยอาหาร ดอกแค เมื่อแก่จนกลีบร่วง ก็จะมีฝักอ่อน นำมาทำอาหารได้ เมื่อแก่จะแพร่พันธุ์ด้วยเมล็ด เจริญเติบโตง่าย มีอายุไม่นาน ก็ยืนต้นตาย แพร่พันธุ์ด้วยฝักที่มีเมล็ดแก่จัด การนำดอกแคมาทำอาหารต้องเด็ดเกสรสีเหลืองของดอกแคออกก่อนจะทำให้ไม่มีรสขม แคเป็นต้นไม้ที่แตกกิ่งก้านสาขามาก มีเปลือกลำต้นขรุขระสีเทา ดอกคล้ายดอกถั่ว ยาว 6-10 ซม. มีทั้งดอกสีขาวและสีแดง ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ กลีบเลี้ยงเป็นรูประฆังหรือถ้วย ผลเป็นฝักแบน
ส่วนของแคที่นำมารับประทานนับได้ตั้งแต่ยอดอ่อน ใบอ่อน รสหวาน มัน มีมากในช่วงฤดูฝน นิยมต้มสุกแล้วราดหัวกะทิ รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว แคก็ออกดอกอ่อนที่มีรสหวานออกขมเล็กน้อยให้ลิ้มรสและทำเป็นแกงส้ม แต่ต้องเป็นดอกแคสีขาว เพราะไม่มีเส้นใยมากให้ระคายปากเหมือนดอกสีแดง แกงส้มดอกแคที่อร่อยต้องใส่ปลาช่อน เพราะช่วงที่ดอกแคออกดอกจะเป็นช่วงที่ปลาช่อนมีเนื้อหวานมันเป็นพิเศษ พอถึงช่วงปลายฤดูหนาวก็เริ่มเก็บฝักอ่อนมารับประทานกันอีกครั้ง
สรรพคุณทางยา
เปลือกนำมาต้ม คั้นน้ำแก้ท้องร่วง แก้บิด แก้มูกเลือด คุมธาตุ สรรพคุณทางยาของแคคือช่วยแก้ไข้ ลดไข้ นอกจากนี้ยังอุดมด้วยสารอาหารต่างๆ โดยเฉพาะเบต้าแคโรทีนที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ แคจึงช่วยบำรุงสายตาและต้านมะเร็ง อีกทั้งช่วยเสริมสร้างกระดูก เพราะมีแคลเซียมฟอสฟอรัสสูง
ในยอดแคมีสารอาหารมากกว่าดอกแคเสียอีก เพราะยอดแคปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 87 แคลอรี มีเส้นใย 7.8 กรัม แคลเซียม 395 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 40 มิลลิกรัม เหล็ก 4.1 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 8,654 ไมโครกรัม วิตามินเอ 1,442 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.28 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.33 มิลลิกรัม ไนอาซีน 2.0 มิลลิกรัม วิตามิซี 19 มิลลิกรัม
ดอกแคปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 33 แคลอรี แคลเซียม 2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 57 มิลลิกรัม เหล็ก 1.2 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 0.51 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.09 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.19 มิลลิกรัม ไนอาซีน 0.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 35 มิลลิกรัม
ยอดอ่อนและใบอ่อนของแคขายกำละ 5 บาท เลือกใบสด ไม่ร่วง ดอกแคมักขายเป็นกองๆ ละ 5 บาทเช่นกัน ให้เลือกดอกตูมที่กำลังจะบาน ก่อนนำไปทำอาหารต้องดึงเอาเกสรออกก่อน จะทำให้มีรสขมน้อยลง สำหรับฝักอ่อนค่อนข้างหาซื้อยาก ต้องปลูกต้นแคไว้ที่บ้านเองจึงจะได้รับประทานกันการประกอบอาหาร แกงส้มดอกแคปลาดุก ดอกแคสอดไส้ แกงเหลืองปลากระพงดอกแค

สรรพคุณของดอกอัญชัน


คลังความรู้ : ดอกอัญชัน สรรพคุณดอกอัญชัน ประโยชน์ของดอกอัญชัน
อัญชัน
Blue Pea,Butterfly Pea
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clitoria ternatea
ชื่อวงศ์ : Fabaceae
แดงชัน,เอื้องชัน
ส่วนที่ใช้
ดอก เมล็ด ใบ ราก
ส่วนประกอบ
มีสารอดีโนซีน (adenosine) สารแอฟเซลิน (afzelin)
สารอปาราจิติน (aparajitin) กรดอราไชดิก (arachidic acid)
สารแอสตรากาลิน (astragalin)
กรดชินนามิกไฮดรอกซี (cinnamic acid, 4-hydroxy)
สารเคอร์เซติน (quercetin) และสารซิโตสเตอรอล เป็นต้น
ดอกมีสารแอนโทไซอานิน
สรรพคุณและวิธีใช้
ดอก
รักษาอาการผมร่วง แก้ฟกช้ำบวม ใช้ผสมอาหารให้สีม่วง
เช่น ข้าวดอกอัญชัน ขนมดอกอัญชัน เป็นต้น
เมล็ด
เป็นยาระบาย
ใบและราก
อัญชันชนิดขาวใช้เป็นยาขับปัสสาวะและยาระบาย
ชนิดม่วงแก้ตาฟางและตาแฉะ






หมายเหตุ
น้ำคั้นจากดอก
ใช้ทาทำให้ผม หนวด เครา และคิ้วดก
คนโบราณใช้ทาคิ้วเด็ก ทำให้คิ้วเด็กดกดำ
ใช้ในอุตสาหกรรม
ผลิตแชมพูสระผมและครีมนวด
สีจากกลีบดอกสดมีสีน้ำเงินด้วยสารแอนโทไซอานิน
ใช้เป็นสารบ่งชี้ (indicator) แทนลิตมัส (lithmus)
เมื่อเติมน้ำมะนาว (กรด) ลงไปเล็กน้อยจะกลายเป็นสีม่วง
ใช้แต่งสีขนม
เช่น เรไร ขนมน้ำดอกไม้ ขนมขี้หนู
ใช้แต่งสีอาหาร
เช่น หุงข้าวผสมสีจากน้ำคั้นดอกอัญชัญได้สีน้ำเงินม่วงสวย
รับประทานเป็นข้าวยำปักษ์ไต้ เป็นต้น
เป็นไม้เลื้อย ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

ข้อมูลจากหนังสือ พลังดอกไม้
โดย รศ. ดร.วีณา เชิดบุญชาติ
หน้า 273 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

น้ำดอกอัญชัน
ส่วนผสม
น้ำดอกอัญชัน 1 ถ้วย
น้ำเชื่อม 4 ช้อนโต๊ะ
น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำน้ำดอกอัญชัน
นำดอกอัญชันสด 100 กรัม ล้างน้ำให้สะอาด ใส่หม้อ
เติมน้ำเปล่า 2 ถ้วย ต้มจนเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ ประมาณ 2-3 นาที
แล้วกรองดอกอัญชันขึ้นจากหม้อต้ม
วิธีทำน้ำเชื่อม
น้ำเปล่า 500 กรัม, น้ำตาลทราย 500 กรัม
นำน้ำดอกอัญชัน น้ำเชื่อม และน้ำผึ้งผสมรวมกัน ชิมรสตามชอบ
อีกวิธีหนึ่ง
นำดอกอัญชันตากแห้งประมาณ 25 ดอก
ชงในน้ำเดือด 1 ถ้วย ดื่มแทนชา
ข้อแนะนำการดื่ม
1. ควรดื่มทันทีที่ปรุงเสร็จ เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารและยา
2. การดื่มน้ำสมุนไพรชนิดเดียว ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ
อาจทำให้เกิดการสะสมสารบางชนิด ที่มีฤทธิ์ต่อร่างกายได้
3. การดื่มน้ำสมุนไพรร้อนๆ ที่มีอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสขึ้นไป
จะทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหาร เสียสภาพภูมิคุ้มกันเฉพาะที่
และอาจทำให้มีการดูดซึม สารก่อมะเร็ง จุลินทรีย์ ฯลฯ ได้ง่าย
ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับจากดอกอัญชัน
มีหลายประการดังนี้
1. เป็นเครื่องดื่มดับกระหาย มีสารแอนโธไซยานิน
มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิต้านทาน
2. ใช้เป็นสีผสมอาหาร โดยเฉพาะในขนมไทย
เช่น ขนมชั้น ขนมน้ำดอกไม้
3. สารแอนโธไซยานิน มีอยู่มากในดอกอัญชัน
มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
เช่น ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็น เนื่องจากสารตัวนี้
จะไปเพิ่มการไหลเวียนในหลอดเลือดเล็กๆ
เช่น หลอดเลือดส่วนปลาย
ทำให้กลไกที่ทำงานเกี่ยวกับการมองเห็นแข็งแรงขึ้น
เพราะมีเลือดไหลเวียนมาเลี้ยงมากขึ้น
ในขณะนี้ ก็มีการศึกษาวิจัยทางคลินิก
เกี่ยวกับ ความสามารถของแอนโธไซยานิน
ในการเพิ่มประสิทธิภาพของดวงตา
เช่น ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก เป็นต้น
ที่มา เว็บไซต์เส้นทางสุขภาพ yourhealthyguide

สรรพคุณของขิง

ชื่อท้องถิ่น ขิงบ้าน ขิงป่า ขิงแครง ขิงเขา ขิงดอกเดียว(ภาคกลาง) ขิงแดง ขิงแกลง(จันทบุรี) ขิงเผือก(เชียงใหม่) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ขิงเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดินซึ่งมีลักษณะคล้ายมือหรือที่เรียกว่า “เหง้า” เปลือกเหง้ามีสีเหลืองอ่อน แต่เนื้อภายในมีสีเหลืองอมเขียว ขิงจัดเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับข่า ขมิ้น กระวาน เร่ว ขิงอ่อนมีสีขาวออกเหลือง มีรสเผ็ดและกลิ่นหอม ยิ่งแก่ยิ่งมีรสเผ็ดร้อน ลำต้นบนดินมีลักษณะเป็นกอสูงประมาณ 90 เซนติเมตร ถ้ากนใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับเรียงกันเป็นสองแถว มีรูปร่างคล้ายใบไผ่ ปลายใบเรียวแหลม ดอกมีสีขาวออกเป็นช่อบนยอดที่แยกออกมาจากลำต้นซึ่งไม่มีใบที่ก้านดอก ดอกมีลักษณะเป็นทรงพุ่มปลายดอกแหลม มีเกล็ดอยู่รอบๆดอกจะแซมออกมาตามเกล็ด ผลมีลักษณะกลมแข็ง สารสำคัญที่พบ กลิ่นหอมเฉพาะตัวของขิงเกิดจากน้ำมันหอมระเหยในเหง้า ซึ่งมีสารสำคัญคือ เซสควิเทอร์ฟีน ไฮโดรคาร์บอน เซสควิเทอร์ฟีน แอลกอฮอล์ โมโนเทอร์ฟีนอยด์ เอสเตอร์ ฟีนอล รสเผ็ดร้อนและกลิ่นฉุนเกิดจากน้ำมันชัน ในเหง้าเช่นเดียวกัน ส่วนประกอบอื่นๆคือ แป้งและยางเมือก นอกจากนี้ ขิงยังมีสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกายอีก คือ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม วิตามินเอ ฯลฯ สรรพคุณ ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร และทำให้ร่างกายอบอุ่น ในทางยานิยมใช้ขิงแก่ เพราะขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและจะมีใยอาหารมาก 1. รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนโดยนำขิงแก่สด ประมาณ 2-3 เหง้ามาทุบพอแตกต้มกับน้ำ 2. รักษาไข้หวัด โดยนำขิงแก่สด 7 กรัม และขิงแห้ง 2 กรัม ต้มกับน้ำตาลทรายแดง ดื่มเพื่อรักษาอาการ หรือใช้ขิงแก่ 2-3 เหง้า นำมาทุบให้ละเอียดต้มกับน้ำอาบเพื่อขับเหงื่อลดอาการไข้เนื่องจากหวัด 3. รักษาอาการไอ ขับเสมหะ โดยนำขิงสดมาคั้นน้ำให้ได้ประมาณครึ่งถ้าวย ผสมน้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนชา ต้มกับน้ำ 2 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง หรือใช้ขิงสดฝนกับมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ 4. รักษาอาการปวดประจำเดือนในช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน โดยนำขิงแห้งประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำ ดื่มบ่อยๆ 5. แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง โดยใช้ขิงแห้งบดชงกับน้ำอุ่น ดื่มวันละ 1 ครั้ง 6. รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก โดยตำขิงสดให้ละเอียด นำกากมาพอกที่แผลเพื่อบรรเทาอาการอักเสบเป็นหนอง 7. รักษาอาการปวดฟัน โดยนำขิงแก่ทุบให้ละเอียดคั่วกับน้ำสารส้มจนเกรียม แล้วบดจนเป็นผง พอกบริเวณที่ปวดฟัน วิธีใช้ในการประกอบอาหาร ขิงที่นำมาประกอบอาหารมีหลายรูปแบบคือ ขิงสด ขิงดอง ขิงแห้ง ขิงผง รวมทั้งน้ำขิงที่เป็นเครื่องดื่ม ขิงเป็นเครื่องเทศที่ใช้แต่งกลิ่นอาหารเพิ่มรสชาติ และดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ เช่น ใช้โรยหน้าปลานึ่ง โรยหน้าโจ๊กหรือผสมในน้ำจิ้มข้าวมันไก่ ต้มส้มปลา แกงฮังเล ยำกุ้งแห้ง ขิงยำ เป็นเครื่องเคียงของเมี่ยงคำ หรือทำเป็นขนมหวาน เช่น บัวลอยไข่หวาน มันเทศต้ม นอกจากนี้ขิงดองยังเป็นอาจาดในอาหารอีกหลายชนิด เช่น ข้าวหน้าเป็ด หรืออาหารญี่ปุ่น รวมทั้งยังเป็นส่วนผสมในการแต่งกลิ่นอาหารหลายชนิด เช่น คุ้กกี้ พายน์ เค้ก พุดดิ้ง ผงกะหรี่ ในประเทศแถบตะวันตกนำขิงไปทำเป็นเบียร์ คือ เบียร์ขิง ข้อสังเกต/ข้อควรระวัง 1. ขิงแกมีสรรพคุณในทางยา และมีรสเผ็ดร้อนมากกว่าขิงอ่อน 2. ขิงแกมีเส้นใยมากกว่าขิงอ่อน 3. ในเหง้าขิงมีเอนไซม์บางชนิดทีสามารถย่อยเนื้อสัตว์ให้เปื่อยได้ 4. สารจำพวกฟีนอลิคในขิงสามารถใช้กันบูดกันหืนในน้ำมันได้ วิธีปลูก 1. เตรียมดินร่วนคลุกกับปุ๋ยคอก ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 4-5 วัน 2. ขิงที่จะนำมาปลูกนั้นควรใช้ส่วนเหง้าที่แก่จัด ผิวไม่เหี่ยว มีปุ่มตามากยิ่งดีเพราะจะทำให้รากงอกได้ง่าย หลังจากนั้นนำปูนแดงที่กินกับหมากป้ายตามแผลที่ตัด เพื่อไม่ให้ขิงเน่าก่อนงอก 3. นำเหง้าขิงฝังลงในหลุมที่เตรียมไว้ ในช่วงระยะแรกควรรดน้ำให้ชุ่ม ทุกเช้า – เย็น แต่หลังจากขิงงอกต้นอ่อนแล้วให้รดน้ำวันละ 1 ครั้ง ไม่ควรรดน้ำหรือโดนแดดมากเกินไปเพราะอาจทำให้ขิงไม่โตหรือทำให้รากเน่าได้

สรรพคุณมะระขี้นก


สรรพคุณน่ารู้ : หมวดผัก : มะระขี้นก
กลับไปเลือกสรรพคุณ
ส่วนที่ใช้ใบ ใบและผล ผล ราก
สรรพคุณ
ใบ : ใช้ใบสด นำมาลวก หรือต้มกินเป็นยาฟอกโลหิต ยาระบาย เจริญอาหาร หรือใช้ใบแห้ง นำมาบดให้ละเอียดกับน้ำกินเป็นยาขับพยาธิ ขับลม และบำรุงธาตุ เป็นต้น ใบและผล ใช้ใบและผล นำมาตำให้ละเอียดแล้ว คั้นเอาน้ำกินเป็นยาแก้จุกเสียดแน่นท้อง ขับลม บำรุงธาตุ ขับลม และเป็นยาช่วยถ่ายพยาธิ
ผล : ใช้ผลสด นำมาต้มหรือประกอบเป็นอาหารใช้รับประทาน มีคุณค่าในการช่วยบำบัดโรคเบาหวาน บำรุงธาตุ หรือใช้แผลแห้งนำมาบดให้ละเอียด ใช้โรยบริเวณที่เป็นแผลใช้ทาแก้คัน หิด และโรคผิวหนัง เป็นต้น
ราก : ใช้ปรุงเป็นยาบำรุงธาตุ ฝาดสมาน แก้ริดสีดวงทวาร และเป็นยาธาตุ เป็นต้น

สรรพคุณตระใคร้


คลังความรู้ : ตะไคร้ ประโยชน์ของตะไคร้ และ สรรพคุณของตะไคร้
ส่วนที่ใช้ต้น หัว ใบ ราก และต้น
สรรพคุณ
ทั้งต้น : ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ
หัว : เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
ราก : ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย
ต้น : ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย
Tipsมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด นำเอาตะไคร้ที่มีลำต้นแก่ และสด ๆ มา ประมาณ 1 กำมือ ทุบให้แหลกพอดีแล้วนำไปต้มน้ำดื่ม หรืออีกวิธีหนึ่งเอาตะไคร้ทั้งต้นรากด้วยมาสัก 5 ต้นแล้วสับเป็นท่อนต้นกับเกลือ จากน้ำ 3 ส่วนให้เหลือเพียง
เรื่องมะรุม
มีผู้หญิงคนหนึ่งอาศัยอยู่สหรัฐอเมริกา ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน ความดันโลหิตสูง เม็ดเลือดขาวกินเม็ดเลือดแดง (รูคีเนีย) และปอดมีปัญหาอักเสบ ไปหาหมอ หมอก็รักษาที่ละโรค พอดีปวดฟันไปถอนฟัน หมอให้กินยาเพนนิสลิน ดันแพ้ยาอย่างรุนแรง จนเกิดอาการบวมและลามไปที่ไต่เกิดปัญหา หมอต้องเริ่มรักษาใหม่ของแต่ละโรคเพราะว่ายาที่รักษาแต่ละโรค จะมีเพนนิสลินเป็นส่วนประกอบ และหมอก็ให้เค้าเตรียมทำใจ พอดีเพื่อนที่ทำงานด้วยกันเป็นชาวพม่า แม่ป่วยเป็นมะเร็ง เค้าต้องการหายารักษาโรค ด้วยความหวังดีเค้ามาหาข้อมูลใน internet ให้เพื่อน และรู้ว่ามะรุมมี คุณลักษณะในการช่วย เค้าเลยหาต้นมะรุม ในสหรัฐมีคนที่ปลูกมะรุมในบ้านอยู่บ้าง ซึ่งแต่ละบ้านงกมากและไม่ยอมให้ เพราะที่สหรัฐเค้ากินกันถือว่าบ้านไหนมีต้นมะรุมเสมือนมีโรงพยาบาลที่บ้าน
ดังนั้น เค้าเริ่มปลูกต้นมะรุน และกินใบสดที่ใบไม่แก่และไม่อ่อนจนเกินไป หรือไม่จะเก็บใบสดมาตากแห้ง (ต้องมีผ้าขาวบางมะรุมไม้กลางบ้านของไทยที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมาเป็นเวลานานนอกจากจะรับประทานอร่อยแล้ว ชาวอินเดียยังได้ทำการทดลองและเชื่อว่ามีคุณสมบัติในการรักษาโรคต่างๆได้ถึง300ชนิดองค์การสหประชาชาติได้ให้การสนับสนุนในการค้น คว้าและวิจัยอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในการรักษาโรคขาดอาหารและอาการตาบอดซึ่งเกิดขึ้นในเด็กแรกเกิดจนถึงวัยเจริญเดิบโตในประเทศด้อยพัฒนาเช่นกลุ่มประเทศในอาฟริกาตอนใต้และประเทศอินเดีย กลุ่มองค์การกุศลมากมายได้หันมาให้ความสนใจอย่างจริงจังกับพันธุ์ไม้ชนิดนี้ รวมทั้งประเทศไทยกลุ่มนักศึกษาแพทย์จำนวน25ท่านจากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ได้ทำการทดลองวิจัยในการที่จะนำมารักษาผู้ป่วยโรคงูสวัสดิ์แม้แต่กลุ่มประเทศอื่นๆเช่นอังกฤษ,เยอรมัน,รัสเซีย,ญี่ปุ่น,จีน,ก็หันมาให้ความสนใจและทำการค้นคว้าอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง เบาหวาน โรคเอดส์ และอีกมากมาย ประโยชน์คร่าวๆ จากวารสารค้นคว้าที่พอจะอ้างอิงได้มีดังต่อไปนี้คือ 1. ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิด ถึง 10 ขวบ และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ และตาบอด ได้เป็นอย่างดี 2. ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ ทำให้สามารถลดการใช้ยาลงโดยความเห็นชอบและการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ผู้รักษาด้วย 3. รักษาโรคความดันโลหิตสูง 4. ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายถ้าแม้ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อHIV นอกจากนี้ยังช่วยให้คนทั่วๆไปสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ3 ครั้ง 5. ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้และสามารถมีชิวิตอยู่อย่างคนทั่วไปได้ในสังคมการรักษาโรคเอดส์ที่ประสพผลสำเร็จในกลุ่มประเทศอาฟริกา แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาก็กำลังอยู่ในภาวะทดลอง 6. ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็งแต่ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบันหากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง 7. ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊า โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม 8. รักษาโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โรคตาต้อ เป็นต้นถ้ารับประทานสม่ำเสมอ จะทำให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์ 9. รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง โรคพยาธิในลำไส้ เป็นต้น 10. รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ นอกจากนี้ต้นมะรุมยังมีคุณประโยชน์อีกมากมายซึ่งไม่สามารถที่จะนำมาอ้างอิงได้หมดในที่นี้ หากสนใจท่านสามารถหาอ่านได้จากเอกสารอ้างอิงกำกับท้ายเอกสารฉบับนี้คลุมเพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำไป) บดให้ละเอียดใส่แค็บซูนกินทุกเช้าใบสด ควรรับประทานใบสดที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไปนัก เพื่อให้ได้ประโยชน์เต็มที่ -เด็กแรกเกิด -1 ปี คั้นน้ำจากใบเพียง 1 หยด ผสมกับนมให้ดื่มเพียง 1 หยด ต่อ 1-2 วัน ใบมะรุมนี้มีธาตุเหล็กสูงมาก ฉะนั้นทารกในวัยเจริญเติบโต - 2 ขวบ จึงไม่ควรทานมาก -เด็กที่เริ่มทานอาหารได้ถึง3-4 ขวบ ควรทานวันละไม่เกิน 2 ใบ เพิ่มจำนวนขึ้นทีละใบตามอายุ จนถึง 10 ขวบ -เด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ รับประทานวันละ 1 กิ่ง จะทานสดหรือประกอบอาหารก็ได้ ถ้าจะให้ได้ผลรวดเร็ว ควรคั้นน้ำดื่มประมาณวันละ 1 ช้อนโต๊ะสำหรับผู้ใหญ่ หรือ 1 ช้อนชาสำหรับเด็ก การรับประทานสุกควรลวกแต่พอควรเพราะการถูกความร้อนนานเกินไปจะทำให้สารอาหารหลายชนิดเสื่อมคุณภาพลงไปมาก ถ้าสามารถรับประทานสดได้จะดีมาก ใช้ทำสลัดรวมกับผักสด หรือวางบนแซนวิช
ผล รับประทานได้ทั้งฝักอ่อนและฝักแก่พอสมควรฝักแก่จะใช้ลำบากเพราะต้องปอกเปลือกเช่นใช้แกงส้มหรือขูดเอาแต่เนื้อใน มาทำแกงกะหรี่ ฝักอ่อนขนาดถั่วฝักยาวสามารถนำมาทำอาหารได้มากมายหลายชนิด อาทิ เช่น แกงส้มฝักมะรุม ฝักมะรุมอ่อนผัดน้ำมันหอย ยำฝักมะรุมอ่อน(เหมือนยำถั่วพลู) สลัดสดใบมะรุมผักรวม ทอดมันปลากับฝักมะรุมอ่อน แกงเลียงฝักมะรุมอ่อนและใบมะรุม แกงเผ็ดฝักมะรุมอ่อน ไข่ยัดไส้ใบมะรุมหมูสับ ดอกมะรุมชุบไข่ทอด ผัดพริกขิงฝักมะรุมอ่อน ผัดจืดฝักมะรุมอ่อนใส่ไข่และกุ้ง ผัดเผ็ดฝักมะรุมอ่อนยอดพริกไทยกับไก่ ฝักมะรุมอ่อนผัดขี้เมา ไก่อบฝักมะรุมอ่อน ยอด ดอก และฝักมะรุมอ่อนจิ้มน้ำพริก ต้มจืดหมูสับใบมะรุมอ่อน ผัดฝักมะรุมอ่อนกับเห็ดสดต่างๆ ราดหน้าฝักและใบมะรุมอ่อนไก่/หมู แกงจืดใบมะรุมอ่อนเต้าหู้ ผัดฝักมะรุมอ่อนกับเห็ดหูหนู จีน แกงจืดวุ้นเส้นใบมะรุมอ่อนใส่เห็ดสด แกงเขียวหวานหรือแกงแดงฝักมะรุมอ่อน(จะใส่เนื้อ หรือไก่ก็ได้ตามแต่ชอบ) ยอด ดอก และฝักมะรุมอ่อนชุบแป้งเทมปุระทอด เหล่านี้เป็นต้นเมล็ด สามารถนำเมล็ดมะรุมมาสกัดน้ำมันเพื่อใช้ประโยชน์ได้มากมายเช่นใช้ทำอาหารได้ รักษาโรคปวดตามข้อ โรคเก๊า รักษาโรครูมาติซั่ม และรักษาโรคผิวหนัง แก้ผิวแห้ง ใช้แทนยารักษาผิวให้ชุ่มชื้น รักษาโรคอันเกิดจากเชื้อรา เปลือกจากลำต้น นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆใส่ผ้าห่อทำเป็นลูกประคบนึ่งให้ร้อนนำมาใช้ประคบ แก้โรคปวดหลัง ปวดตามข้อได้เป็นอย่างดี * ร้านขายยาจีนนำมาใช้เข้าเครื่องยาจีนรักษาโรคหลายประเภท* กากของเมล็ดกากที่เหลือจากการทำน้ำมันสามารถนำมาใช้ในการกรองหรือทำน้ำให้บริสุทธิ์เป็นน้ำดื่มได้กากของเมล็ดมีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นอย่างยิ่ง จากนั้นนำมาทำปุ๋ยต่อได้ดอก ใช้ต้มทำน้ำชาใช้ดื่มช่วยให้นอนหลับสบาย ใบตากแห้ง สามารถนำใบมาตากแห้งโดยการตากในที่ร่มอย่าให้โดนแดดเมื่อแห้งสนิทดีแล้วนำมาป่นเป็นผงบรรจุในหลอดแคปซูลเพื่อสะดวกแก่การพกพาในกรณีที่เดินทางและหาใบสดไม่ได้ใช้ทำเป็นน้ำชาไว้ดื่มได้ตลอดวันแต่ใบแห้งจะขาดไวตามินซีและไวตามินบีตลอลีนและแร่ธาตุบางจำพวกที่สูญหายในระหว่างการทำให้แห้งควรเก็บผงมะรุมไว้ในที่มืดเช่นขวดพลาสติกชนิดทึบเพื่อกั นการเสื่อมคุณภาพแต่คุณสมบัติอื่นๆ ยังคงเดิมเนื่องจากมะรุมเป็นพืชสมุนไพรกลางบ้านดังนั้นการให้ผลย่อมช้ากว่ายาแผนสมัยใหม่การที่จะใช้ให้ได้ผลอย่างจริงจังต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า3เดือนและต้องใช้ติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอจะให้ผลเป็นที่น่าพอใจร่างกายจะแข็งแรงอยู่เสมอคนธรรมดาที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคก็สามารถใช้ได้เพื่อป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อต่างๆ สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายเป็นอย่างดียิ่ง
เอกสารอ้างอิง: Nature's Medicine Cabinet by Sanford Holst The Miracle Tree by Lowell Fuglie LA times March 27th 2000 article wrote by Mark Fritz. WWW.PUBMED.GOV. (Search for Moringa) (Antiviral Research Volume 60, Issue 3, Nov. 2003, Pages 175-180: Depts. of Microbiology, Pharmaceutical Botany, Pharmacology, Faculty of Pharmaceutical Science, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand. Corresponding author. Tel.: +66-2-218-8378; fax +66-2-254-5195)
'มะรุม' เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่ถูกปลูกไว้ในบริเวณบ้านไทยมาแต่โบราณ กินได้หลายส่วน ทั้งยอด ดอก และฝักเขียว แต่ใครๆ ก็นิยมกินฝักมากกว่าส่วนอื่นๆ
ต้นมะรุมพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ทางอีสานเรียก 'ผักอีฮุม หรือผักอีฮึม' ภาคเหนือเรียก 'มะค้อมก้อน' ชาวกะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรีเรียก'กาแน้งเดิง' ส่วนชานฉานแถบแม่ฮ่องสอนเรียก 'ผักเนื้อไก่' เป็นต้น
มะรุมมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าMoringa oleifera Lam. วงศ์ Moringaceae เป็นพืชกำเนิดแถบใต้เชิงเขาหิมาลัย
มะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 3-4 เมตร ทรงต้นโปร่ง ใบเป็นแบบขนนกคล้ายกับใยมะขามออกเรียงแบบสลับ ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าด้านบน ดอกออกเป็นช่อสีขาว ดอกมี 5 กลีบ
ฝักมีความยาว 20-50 เซนติเมตร ลักษณะเหมือนไม้ตีกลอง เป็นที่มาของชื่อต้นไม้ตีกลองในภาษาอังกฤษ (Drumstick Tree) เปลือกฝักอ่อนสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมนเป็นระยะตามความยาวของฝัก เปลือกฝักแก่มีสีน้ำตาล เมล็ดมีเยื่อหุ้มลักษณะกลมมีสีน้ำตาล เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร เมล็ดแก่สามารถบีบน้ำมันออกมากินได้
มะรุมเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ การปลูกการดูแลรักษาก็ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน เกษตรกรจึงมักนิยมปลูกมะรุมไว้ริมรั้วบ้านหรือหลังบ้าน 1-5 ต้น เพื่อให้เป็นผักคู่บ้านคู่ครัวแบบพอเพียงที่ไม่ต้องซื้อหา
คนไทยทุกภาคนิยมนำฝักมะรุมไปทำแกงส้ม ด้วยการปอกเปลือกหั่นฝักมะรุมเป็นชิ้นยาวพอคำ ถือว่าเป็นผักที่ทำแกงส้มคู่กับปลาช่อนอร่อยที่สุด จะต่างกันก็ในรายละเอียดของแกงตามแบบอย่างของแต่ละท้องถิ่นเท่านั้น แม้แต่ทางใต้ก็นิยมนำมะรุมมาทำแกงส้มปลาช่อน โดยจะใช้ขมิ้นเพื่อดับกลิ่นคาวปลาและเพิ่มสีสันของน้ำแกง ปรุงรสเปรี้ยวด้วยการใส่ส้มแขกแทนน้ำมะขาม และหั่นปลาช่อนเป็นแว่นใหญ่ไม่โขลกเนื้อปลากับเครื่องแกง
ผู้เฒ่าผู้แก่นิยมกินมะรุมในช่วงต้นหนาวเพราะเป็นฤดูกาลของฝักมะรุม หาได้ง่าย รสชาติอร่อยเพราะสดเต็มที่ มีขายตามตลาดในช่วงฤดูกาล คนที่ปลูกมะรุมไว้ในบ้านเท่านั้นจึงจะมีโอกาสลิ้มรสยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอกและฝักอ่อน ช่อดอกนำไปดองเก็บไว้กินกับน้ำพริก ยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอก และฝักอ่อนนำมาลวกหรือต้ทให้สุก จิ้มกับน้ำพริกปลาร้า น้ำพริกแจ่วบอง กินแนมกับลาบ ก้อย แจ่วได้ทุกอย่าง หรือจะใช้ยอดอ่อน ช่อดอกทำแกงส้มหรือแกงอ่อมก็ได้
ส่วนอื่นๆ ของโลกจะใช้ใบมะรุมประกอบอาหารเช่นเดียวกับการใช้ผักขมฝรั่ง หรือปรุงเป็นซอสข้นราดข้าวหรืออาหารแป้งอื่นๆ นอกจากนี้ ใช้ใบตากแห้งป่นเก็บไว้ได้นานโรยอาหาร เช่นเดียวกับที่ภูมิปัญญาอีสานจังหวัดสกลนครใช้ใบมะรุมแห้งปรุงเข้าเครื่อง 'ผงนัว' กับสมุนไพรอื่นไว้แต่งรสอาหารมาแต่โบราณ ส่วนฝักอ่อนปรุงอาหารเหมือนถั่วแขก

คุณค่าทางอาหารของมะรุม
มะรุมเป็นพืชมหัศจรรย์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด กล่าวถึงในคัมภีร์ใบเบิ้ลว่าเป็นพืชที่รักษาทุกโรค
ใบมะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า การกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศโลกที่ 3 เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน
นอกจากนี้ มะรุมมีธาตุอาหารปริมาณสูงเป็นพิเศษที่ช่วยป้องกันโรค นั่นคือ
วิตามินเอบำรุงสายตามีมากกว่าแครอต 3 เท่า
วิตามินซีช่วยป้องกันหวัด 7 เท่าของส้ม
แคลเซียมบำรุงกระดูกเกิน 3 เท่าของนมสด
โพแทสเซียมบำรุงสมองและระบบประสาท 3 เท่าของกล้วย
ใยอาหารและพลังงานไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักอีกด้วย
น้ำมันสกัดจากเมล็ดมะรุมมีองค์ประกอบคล้ายน้ำมันมะกอกดีต่อสุขภาพอย่างยิ่ง

จากอาหารมาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นผลิตชาใบมะรุมออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ระบุว่าใช้แก้ไขปัญหาโรคปากนกกระจอก หอบหืด อาการปวดหูและปวดศรีษะ ช่วยบำรุงสายตา ระบบทางเดินอาหาร และช่วยระบายกาก
ประเทศอินเดีย หญิงตั้งครรภ์จะกินใบมะรุมเพื่อเสริมธาตุเหล็ก แต่ที่ประเทศที่ฟิลิปปินส์และบอสวานาหญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมจะกินแกงจืดใบมะรุม(ภาษาฟิลิปปินส์ เรียก 'มาลังเก') เพื่อประสะน้ำนมและเพิ่มแคลเซียมให้กับน้ำนมแม่เหมือนกับคนไทย

ชะลอความแก่
กล่าวกันว่ามะรุมมีฤทธิ์ชะลอความแก่ เนื่องจากยังไม่พบรายงานการวิจัยเกี่ยวกับมะรุมในด้านนี้ คาดว่าเป็นการสรุปเนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ รูทินและเควอเซทิน (rutin และ quercetin) สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก (lutein และ caffeoylquinic acids) ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่างๆ ได้แก่ จอประสาทตา ตับ และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ การกินสารต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมสภาพในเซลล์ร่างกาย

ฆ่าจุลินทรีย์
สานเบนซิลไทโอไซยาเนตโคไซด์และเบนซิลกลูโคซิโนเลตค้นพบในปี พ.ศ. 2507 จากมะรุมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ สนับสนุนการใช้น้ำคั้นจากมะรุมหยอดหูแก้ปวดหู
ปัจจุบันหลังจากค้นพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารHelicobactor pylori กำลังมีการศึกษาสารจากมะรุมในการต้านเชื้อดังกล่าว

การป้องกันมะเร็ง
สารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน (niazimicin) จากมะรุมสามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์ในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
การทดลองในหนูพบว่าหนูที่ได้รับฝักมะรุมเป็นอาการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังจากการกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มทดลอง โดยกลุ่มที่กินมะรุมเนื้องอกบนผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มควบคุม

ฤทธิ์ลดไขมันและคอเลสเทอรอล
จากการทดลอง 120 วัน ให้กระต่ายกินฝักมะรุม วันละ 200 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันเทียบกับยาโลวาสแตทิน 6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันและให้อาหารไขมันมาก
ใบมะรุม 100 กรัม
(คุณค่าทางโภชนาการของอาหารอินเดีย พ.ศ. 2537)
พลังงาน 26 แคลอรี
โปรตีน 6.7 กรัม (2 เท่าของนม)
ไขมัน 0.1 กรัม
ใยอาหาร 4.8 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 3.7 กรัม
วิตามินเอ 6,780 ไมโครกรัม (3 เท่าของแครอต)
วิตามินซี 220 มิลลิกรัม (7 เท่าของส้ม)
แคโรทีน 110 ไมโครกรัม
แคลเซียม 440 มิลลิกรัม (เกิน 3 เท่าของนม)
ฟอสฟอรัส 110 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.18 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 28 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 259 มิลลิกรัม (3 เท่าของกล้วย)
พบว่าทั้งกลุ่มที่กินมะรุมและยามีคอเลสเทอรอลฟอสโฟไลพิด ไตรกลีเซอไรด์ VLDL LDL ปริมาณคอเลสเทอรอลต่อฟอสโฟไลพิด และ atherogenic index ต่ำลงทั้ง 2 กลุ่มมีการสะสมไขมันในตับ หัวใจ และท่อเลือดแดง (เอออร์ตา)
กลุ่มควบคุมปัจจัยด้านการสะสมไขมันในอวัยวะเหล่านี้ไม่มีค่าลดลงแต่อย่างใด
กลุ่มที่กินมะรุมพบการขับคอเลสเทอรอลในอุจจาระเพิ่มขึ้น ผู้วิจัยจึงสรุปว่าการกินมะรุมมีผลลดไขมันในร่างกาย
ที่ประเทศอินเดียมีการใช้ใบมะรุมลดไขมันในคนที่มีโรคอ้วนมาแต่เดิม การศึกษาการกินสารสกัดใบมะรุมในหนูที่กินอาหารไขมันสูงมีปริมาณคอเลสเทอรอลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้กลุ่มทดลองมีปริมาณไขมันในตับและไตลดลง
สรุปว่าการให้ใบมะรุมเพื่อลดปริมาณไขมันทางการแพทย์อินเดียสามารถวัดผลได้ในเชิงวิทยาศาสตร์จริง

ฤทธิ์ป้องกันตับ
งานวิจัยการให้สารสกัดแอลกอฮอล์ของใบมะรุมกรณีทำให้ตับหนูทดลองเกิดความเสียหายโดยยาไรแฟมไพซิน พบว่าสารสกัดใบมะรุมมีฤืธิ์ป้องกันตับ โดยมีผลกับระดับเอนไซม์แอสาเทตอะมิโนทรานสเฟอเรสอะลานีนทรานมิโนทรานสเฟอเรส อัลคาไลน์ฟอสฟาเทสและบิลิรูบินในเลือด และมีผลกับปริมาณไลพิดและไลพิดเพอร์ออกซิเดสในตับ โดยดูผลยืนยันจากการตรวจชิ้นเนื้อตับ สารสกัดใบมะรุมและซิลิมาริน (silymarin กลุ่มควบคุมบวก) มีผลช่วยการพักฟื้นของการถูกทำลายของตัวจากยาเหล่านี้

สรรพคุณของว่านหางจระเข้

ว่านหางจรเข้
ชื่อวิทย์ Aloe baebadensis Mill. ชื่อวงศ์ LILIACEAE ชื่ออื่น ว่านไฟไหม้, หางตะเข้
สรรพคุณใบ รสเย็น ตำผสมสุราพอกฝี วุ้นจากใบล้างด้วยน้ำสะอาด ทาหรือฝานบางๆ ปิดหรือทาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ดับพิษร้อน ทาผิวป้องกัน และรักษาอาการไหม้จาก แสงแดดหรือรังสี ทาผิวรักษาสิวฝัา และขจัดรอยแผล เป็น วุ้นรับประทานรักษาโรคกระเพาะ บำรุงร่างกาย แก้ร้อนใน ดูดพิษร้อนภายในร่างกายทั้งต้น รสเย็นเอียน ดองสุราดื่ม ขับน้ำคาวปลา ราก รสขมชื่น รับประทานถ่ายโรคหนองใน แก้มุตกิต ช้ำรั่ว
ความลับของว่านหางจรเข้๑. แก้ปวดศีรษะ ใช้ว่านหางจรเข้ตัดตามบวางให้เป็นแว่นบางๆ เอาปูน แดงทาที่วุ้น แล้วปิดที่ขมับ จะทำให้เย็นหายปวด
๒. แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ใช้น้ำเมือกจากว่านหางจรเข้รักษา แผลไฟลวก ขนาดรุนแรงที่สุด โดยทาน้ำเมือกที่แผลให้เปียกอยุ่เสมอ แผลจะหายรวดเร็วมาก อาการปวดแผลหรือการเกิดแผลเป็นจะมีน้อย มาก หรือไม่มีเลย
๓. ผิวไหม้เพราะถูกแดดเผา ใช้วุ้นหางจระเข้ทาบ่อยๆ ช่วยลด อาการปวดแสบปวดร้อน ผิวตึง และลดจำนวนผิวที่ลอก
๔. แผลจากของมีคมและแผลอื่นๆ ทำความสะอาดแผลเสียก่อน แล้วเอาวุ้นปิดลงที่่แผลให้สนิท เอาผ้าปิดไว้ แล้วหยอดน้ำเมือกลงไปให้ ผ้าตรงบริเวณที่แผลเปียกอยุ่เสมอ ช่วยให้แผลหายเร็ว และลดรอยแผล เป็น
๕. กระเพาะลำไส้อักเสบ รับประทานวุ้นหางจรเข้ ๑-๒ ช้อนโต๊ะ วันละหลายๆครั้ง ใช้ได้ผลในรายที่ลำไส้ใหญ่อักเสบ หรืออวัยวะอื่น ในทางเดินอาหารเกิดการอักเสบ
๖. บำรุงผมและหนังศีรษะ ใช้วุ้นว่างหางจรเข้ ชโลมผมให้ทั่วทิ้ง ไว้ให้แห้ง รุ่งเช้าจึงใช้น้ำล้างออก ทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม หวีง่ายขึ้น และรักษาแผลบนหนังศีรษะ ( ก่อนใช้ควรทดลองก่อนว่า แพ้ว่าน หรือไม่ และควรใช้แต่น้อยดูก่อน ที่สำคัญอย่าให้ยางถูกผมเพระายางจะ กัดหนังหัว)
๗. ป้องกันการติดเชื้อ ใช้วุ้นหางจรเข้ ทาแผลรักษาแผลติดเชื้อได้ ทำให้แผลดีขึ้น ภายใน ๑๒ ชั่วโมง ๘. ผื่นคันที่เกิดจากการแพ้สารต่างๆ เนื่องจากวุ้นหางจระข้ จะมี ฤทธิ์ระงับปวด จึงช่วยลดอาการคันด้วย และยังช่วยให้ผื่นคันหายเร็ว
๙. ขี้เรือนกวาง และผื่นปวดแสบปวดร้อน ใช้วุ้นหางจรเข้ กินวันละ ๑-๒ ครั้งๆละ ๑-๒ ช้อนโต๊ะ แลทาควบคู่กันไป ว่านหางจรเข้ เป็นยาฝาดสมาน อาจทำให้ผิวแห้งได้ จึงควรผสมน้ำมันทาผิว หรือ น้ำมันอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย
๑๐. ลบรอยแผลเป็น ใช้วุ้นว่านหางจรเข้ทา เช้า-เย็น จะลดรอย แผลเป็น
๑๑. ลบท้้องลายหลังคลอด ใช้วุ้นว่านหางจรเข้ทาผิวท้อง ขณะตั้ง ครรภ์ แม้หลังคลอดแล้วก็ควรใช้ทาต่อเพื่อช่วยให้ผิวหน้าท้องกลับคืนสู่ สภาพปกติ คนที่เคยใช้ยืนยันว่าได้ผลดี
๑๒. เส้นเลือดดำขอดที่ขา ใช้วุ้นว่านหางจรเข้ ทาที่บริเวณเส้นเลือด ดำขอด และมีบางคนใช้ได้ผลดีมาก
๑๓. มะเ็ร็งที่ผิวหนัง ใช้วุ้นว่านหางจรเข้ ทาวันละ ๒-๔ ครั้ง เป็นเวลา หลายเดือน
๑๔. แผลครูดและแผลถลอก ใช้วุ้นว่านหางจรเข้ ทาเบาๆ ให้ทั่ว ใน ๒๔ ชั่วโมงแรก ทาบ่อยๆ แผลจะไม่ค่อยเจ็บและหายเร็วมาก
๑๕. โรคปวดตามข้อ รับประทานวุ้น ว่านหางจรเข้ เป็นประจำ จะหาย ปวดได้ เจลว่านหางจระเข้ลดอาการปวดแสบปวดร้อน บำรุงผิวพรรณ
ตัวยา
๑. น้ำวุ้นว่านหางจระเข้ ๒๐ ซีซ๊๒. Sodium metabisulfate ( เป็น Anti3Oxidant) ๐.๑ กรัม๓. Potassium sorbate ( สารกันบูด) ๐.๒ กรัม๔. Methylcellulose ( MC ๔๐๐ เป็นตัวยาทำให้เกิดเจล) ๔๐๐
วิธีทำ
๑. อุ่นวุ้นหางจระเข้ ๖๐ องศา นาน ๑๐ นาที๒. ละลาย Sodium metabisulfate ในน้ำ ๑ ซี.ซี. ผสมเข้ากับวุ้น๓. นำส่วนผสมจากข้อ ๒ มาผสมกับ MC๔๐๐ จนเช้าเป็นเนื้อเดียวกัน๔. ละลาย Potassium Sorbate ในน้ำ เล็กน้อย ใส่ในส่วนผสมข้อ ๓ คนให้เข้ากัน๕. เก็บใส่ขวดบรรจุไว้ในตู้เย็น สรรพคุณ เป็นยาเย็น ช่วยดูดพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อนว่านหางบำรุงผิว
๑. วุ้นว่านหางจระเข้ ๑ ส่วน ๒. น้ำแครอทคั้นสดๆ ๑ ส่วน ๓. น้ำผึ้ง ๑ ส่วน ๔. น้ำมะนาว ๑/๒ ส่วน
วิธีทำ
นำทั้งหมดมาผสมให้เข้ากัน
วิธีใช้
ทาบนใบหน้าให้ทั่ว ทิ้งไว้ ๑๐ นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำ เย็น ทาก่อนนอนทุกคืน
สรรพคุุณ
ลดรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า แ้ก้สิวแก้ฝ้า ใบหน้าตกกระ ด่างดำ ใบหน้าจะนวลเนียน ขาวดูดี
รักษาผิว ดูแลให้ เปล่งปลั่ง
นำส่วนใบของว่านหางจระเข้ที่แก่จัด อายุมากกว่า 1 ปี มาล้างให้สะอาด ตัดเอาวุ้นให้ได้ 1/2 แก้ว ใส่ไว้ในชามเล็กๆ ใช้ส้อมยีให้เละ และวใช้ปลายนิ้วแตะวุ้นทาให้ทั่วใบหน้า เว้นบริเวณรอบตาและริมฝีปาก ระหว่างที่ทาคววรใช้ปลายนิ้วค่อยกดนวดไปด้วยทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่นจนสะอาด ผิวหน้าจะสดชื่น เปล่งปลั่งหมั่นทำทุกๆ 2 - 3 วัน สูตรนี้ยังใช้รักษาผิวหน้าที่ไหม้เกรียมและถูกแดดเผาอย่างๆได้ผลด้วย ถนอมผิวส่วนที่หยาบกร้าน
ถนอมผิวส่วนที่หยาบกร้าน เช่น มือ เท้า ข้อศอก หัวเข่า นำสับปะรดมาหั่นพอดีคำใช้ประมาณ 4 - 5 ชิ้น ยีด้วยส้อมให้เละแล้วผสมน้ำผึ้งแท้ คลเคล้าให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่กับน้ำอุ่น ซับด้วยผ้าขนหนูพอหมาดๆ แล้วชโลมด้วยครีมสับปะรด ลูบไล้ให้ทั่วมือทั้งสองข้าง ทาที่ข้อศอก หัวเข่าและเท้า ทิ้งไว้ 10 - 15 นาที จึงล้างออกด้วยน้ำอุ่นเปล่าให้สะอาด ซับให้แห้ง ทาผิวด้วยโลชั่น ทำประจำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ผิวบริเวณที่หยาบกร้านจะนุ่มละมุน

ทายนิสัยจากการจับปากกา


ทายนิสัยจากการจับปากกา-ดินสอ
เมื่อจับปากกา-ดินสอ เขียนหนังสือหรือจดหมาย ก็แตกต่างกันไปตามแต่ละคน ทั้งนี้ได้มีผู้วิเคราะห์เอาไว้ว่า ท่าทางการจับปากกา-ดินสอ ของคนเรานั้น สามารถบอกได้ถึงนิสัยใจคอ ของแต่ละคนอีกด้วย
คนที่ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้จับปากกา-ดินสอ มักเป็นคนเรียบ ๆ ง่าย ๆ มีบุคลิกธรรมดา พบเจอได้ทั่วไป แต่ขยันขันแข็งเป็นคนทำมาหากิน ไม่ใช่พวกเหยียบขี้ไก่ไม่ฟ่อ แต่ข้อเสียก็คือขาดความละเอียด ลึกซึ้ง รอบคอบ และไม่สนใจในเรื่องที่ละเอียดอ่อนนัก ไร้อารมณ์อันสุนทรีย์ แต่เป็นคนที่รักบ้านรักครอบครัว และมักเป็นที่พึ่งพาของคนอื่น ๆ อยู่เสมอ
คีบปากกา-ดินสอ ด้วยนิ้วชี้-กลาง ท่านี้เป็นท่าที่เหมือนกับคนทั่วไปใช้คีบบุหรี่นั่นเอง และคนที่มีท่าทางถือปากกา-ดินสอ เช่นนี้อุปนิสัยโดยทั่วไปมักเป็นคนที่มีความจริงใจต่อคนอื่น เห็นอกเห็นใจคนง่าย ชอบทำงานเพื่ออุดมการณ์ของตนเองมากกว่าเพื่อเงิน บุคลิกภายนอกจะเหมือน คนไม่มั่นใจในตัวเอง ดูท่าทางเป็นคนลังเล ตัดสินใจอะไรยาก แต่จริง ๆ แล้วเป็นคนที่มีจุดยืนของตัวเองมั่นคงมากทีเดียว
สอดปากกา-ดินสอ ไว้หว่างนิ้วกลาง-นาง ลักษณะของคนที่จับปากกา-ดินสอตามหัวข้อข้างต้น คือ ชอบสอดปากกา-ดินสอ ไว้ระหว่างนิ้วกลางและนิ้วนาง นิสัยโดยรวมมักเป็นคนค่อนข้าง นิสัยโดยรวมมักเป็นคนค่อนข้างตะหนี่ขี้เหนียว รู้จักและมองเห็นคุณค่าของเงิน และยังเป็นคนทำงานหนักและทำอย่างจริงจัง เพื่อครอบครัวของตน รักญาติพี่น้อง เป็นคนมีนิสัยจู้จี้จุกจิกน่ารำคาญอยู่สักหน่อย ชอบคาดหวังคนอื่นว่าจะต้องเหมือนตัวเอง และจะไม่แคร์ใครเลยถ้าไม่มีความสำคัญต่อชีวิต
จับปากกา-ดินสอชิดส่วนล่างสุด คนที่จับปากกา-ดินสอซะชิดจนเกือบถึงส่วนล่างหรือใกล้กับตัวปากกา-ดินสอนั้น มักเป็นคนเปลี่ยนใจง่าย ประเดี๋ยวชอบแบบนี้ แล้วก็หันมาชอบอีกอย่างแทนภายใน ไม่กี่นาที เป็นคนไม่ค่อยอยู่นิ่ง กระตือรือร้น และมีความเป็นมิตร แต่จะไม่ชอบทำอะไร ตามกำหนดเป๊ะ ๆ หรือทำงานที่ที่ซ้ำซาก จำเจ เพราะจะเบื่อหน่ายง่าย เป็นคนไม่ค่อยมีความพยายามและอดทน จะสนใจอะไรเพียงวูบวาบเท่านั้นเอง
จับส่วนบนของปากกา-ดินสอ คนที่จับปากกา-ดินสอ ไปทางด้านบนหรือปลายๆ ปากกา-ดินสอ นั้นเป็นคนที่มีความช่างฝันแต่ก็จะนิยมความเป็นจริงด้วย เช่นถ้าฝันหรือต้องการอะไรก็จะพยายามจนถึงที่สุดเพื่อจะให้ได้มา เป็นคนมีความมุ่งมั่นสูงอย่างไม่น่าเชื่อเพราะท่าทางจะเหมือนคนฉาบฉวย ไม่ใส่ใจในอะไรสักอย่างแต่ว่าจะไม่ใช่คนที่ลงมือทำอะไรเอง แล้วก็ยัง เป็นคนมีอารมณ์ขัน โดยเฉพาะได้หัวเราะขบขันคนอื่น จะสุขใจเป็นพิเศษ
ชอบกัดปากกา-ดินสอ คนที่เวลาจับปากกา-ดินสอ เขียนอะไรแล้วก็ชอบกัดฝาปากกา-ดินสอไปด้วยนั้น เป็นคนที่มีความหมกหมุ่นมาก หาความแน่นอนไม่ได้ ไม่เหมาะที่จะไปหวังอะไร มีนิสัยเปลี่ยนแปลงเร็ว แต่เข้ากับคนง่าย และมีความสนใจในเรื่องที่ไม่เคยรู้เคย เห็นสูงมาก เรียกว่า กระหายการเรียนรู้ในทุก ๆ เรื่อง ก็ไม่ผิด แต่ว่าจะ ไม่มีสมาธิอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งนานนัก จะเป็นลักษณะของความสนใจ ที่ฉาบฉวยอยู่สักหน่อย

ค้นหาคู่แท้จากเลขประจำวันเกิด

วันอาทิตย์ เลขประจำวันเกิดคือ 1
วันจันทร์ เลขประจําวันเกิดคือ 2
วันอังคาร เลขประจําวันเกิดคือ 3
วันพุธ เลขประจําวันเกิดคือ 4
วันพฤหัส เลขประจําวันเกิดคือ 5
วันศุกร์ เลขประจําวันเกิดคือ 6
วันเสาร์ เลขประจําวัรเกิดคือ 7
วิธีทํานายให้นําตัวเลขประจําวันเกิดของคุณมาบวกกันและนําผลที่ได้มาคูณกับ3 และนําผลลัพที่คูณได้มาหารด้วย 7ให้ดูสิว่าเหลือเศษเท่าไหร่ แล้วเรามาดูคําทํานายกานนนนนนนนนT_T
ผู้ที่ได้เศษ 1คู่ของคุณจัดได้ว่าน่าอิจฉาไม่น้อยและค่อนข้างหวือหวาแม้แรกๆพวกคุณจะมีความ ขัดแย้งเนื่องจากสิ่งแวดล้อแตกต่างกันมากกกกกกกกก คุณจึงมักคิดเห็นไม่ตรงกันนัก แต่คุณทั้งสองจะสามารถประคับประคองครักกันได้ตลอดรอดฝั่งเนื่องจากมีความรัก แท้ต่อกัน สิ่งที่คุณต้องปรับเข้าหากันก็คือการพยายามพูดคุยกันให้มากขึ้นแม้ว่าพื้นฐา นจะแตกต่างกันมากแต่ถ้าทําความเข้าใจแล้วคุณทั้งสองมีแนวโน้มว่าจะลงเอยกัน นอกจากการเปิดใจยอมรับข้อดีข้อเสียของตน และเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายตักเตือนชี้แนะก็จะช่วยเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายและเป็น คู่รักหวานแหววได้อีกคู่^-^^-^
ผู้ที่ได้เศษ 2ความรั กของคุณเป็นไปแบบเรียบง่ายแม้ไม่ค่อยโรแมนติกเหมือนคู่อื่นแต่คุณทั้งสองก็โ ชคดีที่รู้จักคบกันแบบผู้ใหญ่ ไม่ทําตัวเป็นเด็กๆที่คอยจะเจ้าแง่แม่งอนกันเ มื่อมีปัญหาคุณทั้งสองก็ต่างคลี่คลายได้เพราะคุณทั้งสองต่างเชื่อมั่นในกันแ ละกันพวกคุณจึงพร้อมที่จะให้โอกาสยามที่อีกฝ่ายผิดพลาดความรักของพวกคุณจึงด ําเนินไปอย่างราบรื่นและสงบสุข ความสัมพันธ์เช่นนี้เองที่จะเป็นรากฐานให้มามารถประคองคู่กันไปได้ แม้พวกคุณจะคบหากันมานานแต่ก็ไม่มีคําว่าเบื่อหน่ายแต่กลับรู่สึกว่ารักนี้ม ั่นคงอย่างแท้จริง^0^^0^
ผู้ที่ได้เศษ 3ความรักของคุ ณจะมีอุปสรรคเรื่องการเงินเป็นหลัก แม้โดยพื้นฐานพวกคุณจะดูเข้ากันได้ดีและมีความสุขดี แต่อาจจะเป็นเพราะการเงินที่ขัดสนอยู่เสมอทําให้รักดีๆต้องจืดจางได้ ถ้าคุณรู้จักประหยัดและจัดสรรการเงินให้ดีขึ้นคุณก็สามารถมีชีวิตรักที่ราบร ื่นได้เช่นกันที่สำคัญคืออย่านําเรื่องปัญหาการเงินมาเป็นเรื่องใหญ่สําหรับ ชีวิตคู่ที่ยากจนแต่ถ้ามีความเข้าใจกันก็สามารถมีความสุขกันได้ และถ้าคุณกําจัดปัญหาการเงินได้เป็นอย่างดี เมื่อต้องแต่งงานกันปัญหาการเงินก็ไม่ใช่ตัวการทําลายความรักความอบอุ่นในคร อบครัวอย่างแน่นอน (ฟันธง)^-^^_^^-^
ผู้ที่ได้เศษ 4พ วกคุณเกิดมาส่งเสริมและเกื้อกูลกัน หากคุณได้เป็นคู่กันแล้วก็จะนําพาชีวิตของกันและกันให้ก้าวไกลยิ่งขึ้นยิ่งเ รื่องการเงินถ้าได้ร่วมธุรกิจกันด้วยแล้วจะเจริญยั่งยืนดี ขอให้พวกคุณรักกันมากๆๆๆๆๆ และคอยดูแลเอาใจใส่กันต่อไปในภายภาคหน้าพวกคุณสองคนจะมีชื่อเสียงขจรไกลและม ีฐานะมั่งคั่งอย่างแน่นอน^_^^ ๐^
ผู้ที่ได้เศษ 5ค ู่ของคุณเป็นอีกคู่ที่เรียกได้ว่าเกิดมาเพื่อกัน ดวงของคุณจะส่งเสริมชีวิตอีกฝ่ายให้เจริญรุ่งเรือง ขนาดที่ทรัพย์สินเงินทองก็จะหลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย ยิ่งคบกันก็จะมีแต่รวยขึ้น ส่วนในความสัมพันธ์เรียกว่าวันชื่นคืนสุขได้เลย พวกคุณจะคบหากันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย มีจิตใจแน่วแน่มั่นคงและหมั่นเติมความรักให้กันได้เสมอ อย่าได้ย่อท้อแม้ใจช่วงแรกของชีวิตคุณอาจเจออุสรรคแต่ด้วยความรักของคุณทั้ง สองจะช่วยให้คุณสร้างฐานะที่มั่นคงได้^-^^-^^-^
ผู้ที่ได้เศษ 6ค วามรักของคุณสองคนนั้นช่างเปี่ยมไปด้วยความสุขสมหวัง ไม่ว่าจะทําอารายก็ดีงามไปหมด เพื่อนฝูงตลอดญาติมิตรก็เห็นสนับสนุนที่คุณคบกันและใครๆก็ต่างพากันชื่นชมว่ าคู่ของคุณนั้นสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมทางด้านฐานะการเงินความสามารถทุกอย่างล้วนสมกันดีอย่า งกิ่งทองใบหยก และยิ่งคุณได้คบกันแล้วความสัมพันธ์จะยิ่งแน่นแฟ้นกลมเกลียว นอกจากนี้พวกคุณยังเป็นคู่รักที่มีชื่อเสียงในวงสังคมด้วย^-^^-^^-^
ผู้ที่ได้เศษ 7ด ูเหมือนว่าความรักของคุณทั้งสองแม้จะมีใจรักที่มั่นคง ทว่าคุณอาจไม่ได้เกิดมาเป็นคู่กันก็ได้มันจึงทําให้ชีวิตรักของคุณพอเจอแต่อ ุปสรรคปัญหา บ้างก็ทะเลาะกันด้วยเรื่องเล็กๆน้อยๆ ญาติผู้ใหญ่ของแต่ละฝ่ายไม่พอใจที่คุณคบกัน หรือด้านอื่นๆของชีวิตก็กลัวแย่ลงเมื่อคุณคบกัน คูณจึงควรตรึกตรองดูว่าทั้งคู่เหมาะสมที่จะประคับประคองรักนี้ให้ผ่านพ้นไปห รือจะตัดใจก่อนที่ใจก่อนที่อะไรมันจะเลยเถิดเพราะดวงของคุณเหมือนเส้นขนานที ่ไม่มีทางลงเอยกันได้-_- -_- -_-
ผู้ที่ได้เศษ 8ความ รักของคุณทั้งสองเรียกได้ว่าโรแมนติกในระยะเวลาสั้นๆเพราะคุณทั้งสองไม่ได้ป ระทับใจตัวตนที่แท้จริงของอีกฝ่าย อาจจะเพียงหลงใหลรูปลักษณ์หรือสิ่งที่เห็นเท่านั้น คุณไม่ได้ทําความเข้าใจนิสัยใจคอของแต่ละฝ่ายแต่เลือกที่จะรักแบบฉับพลันทัน ทีเลือกได้ว่าเป็นรักที่รักง่ายหน่ายเร็ว คุณทั้งคู่จะมีความต้องการกันมากใจช่วงแรกๆเนื่องจากขาดความผูกพันธ์ทางใจจึ งสามารถจบกันได้ด้วยเรื่องไร้สาระ หากคุณอยากคบกันให้ได้มากกว่านี้ก็ควรสนใจความคิดความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่ง ให้มาก ความเข้าใจจะช่วยให้คุณทั้งสองผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ และแม้การเวลาจะผ่านไปเนิ่นนานก็จะไม่มีความรู้สึกว่าเบื่อหน่าย^0^^0^
ผู้ที่ได้เศษ 9ด ้วยความเข้าใจที่คุณมีให้กันคุณจึงสามารถมีชีวิตรักที่สุขสงบและเปี่ยมไปด้ว ยความเอื้อาทรได้นอกจากนี้ความผูกพันธ์แนนแฟ้นทําให้คุณเห็นอกเห็นใจกันในยา มยากและพร้อมทีจร่สมทุกข์ร่วมสุขกันได้ไปตลอด คุณทั้งสองยังมีจุดมุ่งหมายในชีวิตที่คล้ายกันดังนั้นความคิดเห็นที่ไม่ตรงก ันจึงไม่ค่อยมี แต่ถึงจะมีบ้างต่างฝ่ายก็รับฟังกัน ปัญหาต่างๆยังไม่ค่อยเกิด นอกจากนี้คุณทั้งสองยังเป็นคู่ตัวอย่างที่เติมชีวิตชีวาให้ความรักได้เสมอคว ามรักจืดจางจึงไม่ใช่ปัญหาของพวกคุณ^-^^-^^-^^-^^-^^-^
ผู้ที่ได้เศษ 0พ วกคุณนั้นมีความตั้งมั่นที่จะประคับประคองความรักก็จริง ทว่าอุปสรรคความรักก็มักเล่นงานจนคุณเกือบถอดใจอยู่บ่อยๆแต่ความอบทนไม่ย่อท ้อจะช่วยให้รักของคุณมีหนทางไปการพยายามให้กําลังใจกันเสมอจะช่วยให้ทั้งสอง ฝ่ายเข้มแข็งและและมีพลังต่อสู้เพื่อความรักมากขึ้นโดยเฉพาะคู่ของตคุณที่ต้ องมีเรื่องให้เหนื่อยหัวใจอยู่เสมอทั้งจากปัญหาส่วนตัวและคนรอบข้างหากคุณอย ากให้ความรักคงอยู่ต้องดูแลหัวใจให้แกร่งอยู่เสมอ

ดอกไม้ประจำวันเกิด

เธอที่เกิดวันอาทิตย์ ต้นไม้ประจำวันเกิดเป็น ต้นพวงแสด ต้นพุทธรักษา ต้นธรรมรักษา และต้นเยอร์บีร่าที่มีดอกสีส้ม ส่วนดอกไม้ประจำวันเกิดเป็นดอกกุหลาบสีส้ม จะถูกโฉลกกับเธอที่เกิดวันอาทิตย์ ผู้มีนิสัยทะเยอทะยานและกระตือรือลัน เธอและดอกไม้มีความหมายถึงความฝันอันยิ่งใหญ่ ดอกไม้อีกชนิดสำหรับผู้เกิดวันนี้คือ ดอกทานตะวัน อันเป็นสัญลักษณ์คู่กับพระอาทิตย์เสมอ บอกถึงตัวเธอที่เชื่อมั่น หัวสูง ถือตัว และหยิ่งในศักดิ์ศรีด้วย เธอที่เกิดวันจันทร์ ต้นไม้ประจำวันเกิดของเธอคือ ต้นมะลิ ต้นแก้ว ต้นพุด ต้นจำปี ยิ่งถ้าปลูกแล้วออกดอกหอม เธอจะยิ่งโชคดี ดอกไม้ประจำวันเกิดคือดอกมะลิขาวสะอาด หมายถึงตัวเธอที่มีความนุ่มนวลอ่อนโยน เรียบร้อย ส่วนดอกไม้อีกชิดคือ ดอกกุหลาบขาว หมายถึงความรักที่อ่อนโยนและไม่ต้องการสิ่งใดตอบแทน เพราะคนวันจันทร์มักอ่อนไหวง่าย โรแมนติก และช่างฝัน เธอที่เกิดวันอังคาร ต้นไม้ที่แสนดีของเธอคือ ต้นชัยพฤกษ์ ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ ต้นยี่โถ ออกดอกสีชมพู ต้นเข็มออกดอกสีชมพู ถ้าต้นไม้ของเธอออกดอกมากๆ บอกได้ว่าเธอกำลังมีความสุขดอกไม้ประจำวันเกิดของเธอคือ ดอกกล้วยไม้ โดยเฉพาะที่ออกดอกสีชมพู เพราะมีความหมายถึงความรักที่ร้อนรุ่ม หวือหวา วูบวาบตามอารมณ์ของคนที่เกิดวันนี้ เธอที่เกิดวันพุธ ต้นไม้ประจำตัวคนที่เกิดวันพุธนั้นพิเศษกว่าคนอื่นตรงที่เป็นต้นไม้ใบเขียว โดยเฉพาะต้นกระดังงา ต้นสนฉัตร ดังนั้นเธอควรปลูกต้นไม้เยอะๆ ถึงจะโชคดี ต้นไม้เหล่านั้นจะช่วยปกป้องคุ้มครองเธอได้ คือ ดอกบัว หมายถึงจิตใจอันสงบ เพราะคนที่เกิดวันพุธมักชอบเป็นนักการทูตและรัก สันติภาพดอกไม้ประจำวันเกิดคือ คือดอกบัว ซึ่งคนที่เกิดวันพุธมักจะเป็นนักคำนวณ (เงิน) สีเหลืองอร่ามราวกับทองของดอกไม้ชิดนี้ หมายถึงรักของเธอต้องมาพร้อมเงิน เธอที่เกิดวันพฤหัสบดี เธอที่เกิดวันนี้ มีต้นไม้ประจำตัวคือ ต้นโสน ต้นราชพฤกษ์ และต้นบานบุรี หากมีต้นไม้เหล่านี้อยู่ในบ้านจะช่วยคุ้มครองดูแลเธอ ดอกไม้ประจำวันเกิดของเธอคือ ดอกกุหลาบสีเหลือง หมายถึงการเปลี่ยนแปลงในเรื่องความรัก รักซ้อนซ่อนใจ เพราะคนที่เกิดวันนี้เป็นคนรักงายหน่ายเร็ว เจ้าชู้เล็กๆ ดอกไม้อีกชนิดหนึ่งคือดอกคาร์เนชั่นสีชมพู หมายถึงรักของเธอที่อ่อนโยนและอ่อนหวาน เธอที่เกิดวันนี้ จริงๆ แล้วเป็นคนสุภาพอ่อนโยนและมีอารมณ์ขัน น่ารักเหมือนดอกไม้ของเธอนั่นแหละ เธอที่เกิดวันศุกร์ ต้นไม้ที่แสนดีของคนที่วันศุกร์คือ ต้นพยับหมอก ต้นแส ต้นอัญชัน ส่วนดอกไม้ที่ถูกแลกโชคดีของเธอคือ กุหลาบทุกสี เพราะคนที่เกิดวันศุกร์มักเป็นนักรักที่ยิ่งใหญ่มีเสน่ห์ล้นเหลือหรือจะเป็นดอกไม้เจ้าเสน่ห์ที่มีความหมายหวานแหววแบบดอกไวโอแลตว่า "ฉันรักเธอแล้ว หากรักฉันก็บอกกันบ้างนะ" คนเกิดวันศุกร์บางอารมณ์ก็โลเล จึงได้ดอกลาเวนเดอร์ที่มีความหมายถึงรักที่สับสน ไม่แน่นอน ไปครองอีกดอกหนึ่ง เธอที่เกิดวันเสาร์ จะมีต้นไม้พวก ตันกัลปังหา ต้นพวงคราม ต้นอินทนิล เป็นต้นไม้ประจำวันเกิด และดอกไม้ประจำวันเกิดคือ ดอกลิลลี่ อันหมายถึงรักครั้งแรก รักที่บริสุทธิ์เพราะคนที่เกิดวันเสาร์เป็นคนจริงจังและซีเรียส จึงรักใครยากหน่อย ทว่าดอกลิลี่เป็นดอกที่กระทบใจคนขี้เหงาวันเสาร์ได้ดีทีเดียว

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ดอกไม้

เรื่องเที่ยวจากทางบ้าน

เที่ยวลพบุรี + สระบุรี ชมความงดงามตระการตาของทุ่งดอกทานตะวันนับหมื่นไร่


เที่ยวลพบุรี + สระบุรี ชมความงดงามตระการตาของทุ่งดอกทานตะวันนับหมื่นไร่



เที่ยวลพบุรี + สระบุรี ชมความงดงามตระการตาของทุ่งดอกทานตะวันนับหมื่นไร่ โดย...แอ๋ม

พืชเศรษฐกิจที่เสริมความงามของท้องทุ่ง ในช่วงเดือนพฤศจิกายน - มกราคม ของทุกปี

ทุ่งทานตะวันพวกเราเคยไปสัมผัสบรรยากาศอันยิ่งใหญ่ตระการตามาแล้วครั้งหนึ่ง แต่มีในกลุ่มบางท่านยังไม่ได้ไปชม วันนี้พวกเราก็นัดรวมตัวกันอีกครั้งที่ศรีราชา จริง ๆ แล้วต้นเดือนพฤศจิกายนไม่ใช่วันที่เหมาะสมนักสำหรับการเที่ยวชมทุ่งดอกทานตะวัน แต่ด้วยเหตุว่าคุณน้ามาจากพังงา ต้องเดินทางกลับพรุ่งนี้ ก็เลยวางโปรแกรมเผื่อฟรุ๊ค (ฟรุ๊คมีบ่อย)

แอ๋มรับหน้าที่เป็นโชเฟอร์มือหนึ่งตามระเบียบ เพราะทริปนี้โอมไม่ได้มาด้วย รวมผู้ร่วมตะลอนวันนี้ 5 คน แอ๋ม คุณพิศ + เพ็ญ จิ๊บ + จิ๊ก เริ่มออกเดินทางจากศรีราชาเวลาประมาณ 06.30 น. ขับรถไปตามถนนมอเตอร์เวย์ต่อถนนวงแหวนตะวันออก หลังออกถนนพหลโยธิน แวะทานอาหารเช้ากันที่ร้านอาหารภายในปั้มน้ำมัน ปตท. แล้วก็เดินทางต่อไปยังจุดหมายแรกคือพระพุทธบาทสระบุรี ถึงพระพุทธบาทประมาณ 09.20 น. แวะเก็บภาพพระพุทธบาทแล้วก็ไหว้พระพุทธบาท เพื่อความเป็นสิริมงคลในการเดินทาง

เส้นทางที่แนะนำในการท่องเที่ยวชมทุ่งดอกทานตะวันให้ได้ครบถ้วนทุกท้องทุ่งทั้งที่ลพบุรี และสระบุรี ก็ขอแนะนำเส้นทางตามที่พวกเราใช้เดินทางในวันนี้นะคะ ออกจากพระพุทธบาทสระบุรีเลี้ยวซ้ายเจอสี่แยกไฟแดงแรก ตรงไปลพบุรีให้เลี้ยวขวาไปทางอำเภอพัฒนานิคม ขับรถไปสักพักผ่านทุ่งข้าวฟ่างสวยสะดุดตา ต่างมีความเห็นตรงกันว่า จะต้องถอยหลังรถแวะไปเก็บภาพสวย ๆ ของทุ่งข้าวฟ่างกันก่อน งานนี้คุณพิศก็เลยได้ประเดิมกล้องกับทุ่งข้าวฟ่างเป็นจุดแรก เลยทุ่งข้าวฟ่างไปนิดเดียวก็พบกับแปลงดอกทานตะวันหน้าบ้านของชาวบ้านกำลังเบ่งบานรับนักท่องเที่ยว เรารีบจอดรถหน้าบ้านเจ้าของแปลงดอกทานตะวัน แล้วก็เดินตรงรี่ไปชื่นชมดอกทานตะวันโดยไม่ได้ขออนุญาตเจ้าของบ้าน

สักพักเจ้าของบ้านคุณพี่สาคร ด้วงทอง แห่งอำเภอพระพุทธบาท ซึ่งมีอัธยาศัยที่ดีมากเดินมาทักทายพวกเราด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม พี่สาครให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกทานตะวันเป็นพืชเศรษฐกิจของชาวลพบุรี + สระบุรี อย่างถี่ถ้วน พี่สาครเล่าว่า ชาวบ้านจะปลูกทานตะวันปีละ 1 ครั้งเท่านั้น หลังเก็บเกี่ยวดอกทานตะวันก็จะปล่อยให้ท้องทุ่งพักตัวจนถึงฤดูฝนก็จะลงข้าวโพด หลังเก็บเกี่ยวข้าวโพด ก็ทิ้งให้พื้นดินว่างเปล่า และเริ่มลงดอกทานตะวันอีกครั้งหลังหน้าฝน

ในละแวกนี้แปลงดอกทานตะวันของพี่สาครเพิ่งจะเบ่งบานเป็นแปลงแรก ส่วนชาวบ้านรายอื่นเพิ่งจะได้ปลูกเนื่องจากปีนี้ฝนตกชุกมาก แม้กระทั่งที่เขาจีนแล ซึ่งทุกปีช่วงระยะเวลานี้ดอกทานตะวันจะต้องเริ่มแย้มกลีบบ้างแล้ว แต่ในปีนี้มีปัญหาเรื่องฝนไม่สามารถใช้รถไถหว่านได้ ดอกทานตะวันที่วัดเขาจีนแลจึงค่อนข้างจะโตช้ากว่าที่บ้านพี่สาครมาก นอกจากให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกทานตะวันแล้ว พี่สาครยังเป็นธุระแนะนำมุมถ่ายภาพที่สวย ๆ กับทุ่งดอกทานตะวัน แถมด้วยการบริการเก้าอี้ให้คุณพิศยืนถ่ายภาพมุมกว้างด้วย ทำเอาพวกเราซาบซึ้งน้ำใจเป็นอย่างมาก คาดว่าปีหน้าถ้ามีโอกาสไปแถวนั้นอีกคงจะแวะเยี่ยมเยือนพี่สาครเป็นแน่ เพราะทั้งหมดที่พี่สาครมอบให้พวกเราไม่ได้คิดเป็นเงินตราค่าบริการแต่อย่างใด พี่เค้าให้ด้วยน้ำใจของชาวบ้านแท้ ๆ น่านับถือยิ่งนัก

ออกจากไร่ทานตะวันบ้านพี่สาคร พวกเราก็มุ่งหน้าไปทุ่งทานตะวันวัดเวฬุวันหรือวัดเขาจีนแลที่เคยได้ชื่นชมความงามนับหมื่นไร่ที่นั่น โดยใช้เส้นทางจากวงเวียนบ้านโคกตูมเลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางไปอ่างซับเหล็ก ผ่านหน้าทางเข้าอ่างซับเหล็ก เลยไปประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงทางเข้าทุ่งทานตะวันวัดเวฬุวัน ซึ่งสังเกตจากป้ายวัด และฟาร์มเพาะเห็ด แต่ในวันนี้เป็นจริงตามที่พี่สาครบอกกล่าว ทุ่งทานตะวันที่วัดเขาจีนแล (สถานที่จัดงานทุ่งทานตะวันของจังหวัดลพบุรี) ต้นดอกทานตะวันเพิ่งจะโตแค่เข่า คาดว่าในปีนี้ทุ่งทานตะวันจะบานเต็มท้องทุ่งก็คงราว ๆ กลางเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคม

หลังจากผิดหวังจากทุ่งทานตะวันวัดเขาจีนแลก็เดินทางย้อนมายังวงเวียนบ้านโคกตูมอีกครั้ง จุดหมายต่อไปคือทุ่งทานตะวันที่วัดมณีโสภณ อำเภอพัฒนานิคม จากวงเวียนบ้านโคกตูม ถ้าเลี้ยวซ้ายจะไปอำเภอเทพสถิตย์ เราใช้เส้นทางตรงไปอำเภอพัฒนานิคม ขับรถไปพักนึงก็จะเจอสามแยกให้เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางเขื่อนป่าสัก + แก่งเสือเต้น (ป้ายบอกระยะทาง 27 กม) ขับรถตรงไปเรื่อย ๆ ก็จะไปบรรจบกับถนนสายสระบุรี - หล่มสัก ที่เลี้ยวขวามาจากสามแยกพุแค บนถนนพหลโยธิน ซึ่งบนถนนสายนี้จะมีงานเที่ยวทุ่งทานตะวันในวันที่ 1-10 ธันวาคม ณ ทุ่งทานตะวันกิโลเมตรที่ 13 แต่ ณ วันนี้ดอกทานตะวันแถบนั้นเพิ่งจะออกดอกเล็ก ๆ พวกเราใช้เส้นทางตรงไปอำเภอพัฒนานิคม ขับรถมาถึงประมาณซอย 8 พบทุ่งทานตะวันข้างทางอีก 1 แห่ง แต่มีการขึงเชือกฟางเก็บเงินค่าบริการเข้าทุ่งคนละ 5 บาท พวกเราไม่ได้แวะเนื่องจากยังมีความหวังที่วัดมณีโสภณ ขับรถมาถึงประมาณซอย 12 ผ่านหน้าวัดมณีโสภณ ซึ่งทุกปีจะมีทุ่งดอกทานตะวันบานสะพรั่ง ตอนแรกคิดว่าดอกทานตะวันที่นี่คงจะเบ่งบานประมาณต้นเดือนธันวาคม ผ่านหน้าวัดสังเกตมีป้ายเชิญชวนให้ไปชมทุ่งดอกทานตะวัน ก็เลยต้องถอยหลัง (ถอยหลังอีกแล้ว) ขับรถเข้าไปในบริเวณวัดมณีโสภณ และก็ไม่ผิดหวัง

หลังเข้าไปสุดเขตวัดก็ต้องตะลึงกับทุ่งทานตะวันทุ่งใหญ่ที่กำลังออกดอกบานสะพรั่งเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่ง ที่นี่พวกเราได้พบกับนักท่องเที่ยว 2 กลุ่ม (คงจะมาเที่ยวแบบเผื่อฟรุ๊คเหมือนพวกเรา) ที่วัดได้จัดโต๊ะสูงไว้สำหรับตากล้องถ่ายภาพมุมกว้างไว้บริการในแปลงดอกทานตะวันด้วย ทุ่งทานตะวันที่นี่จะกว้างใหญ่กว่าที่บ้านพี่สาคร และเป็นทุ่งที่ 2 ที่พวกเราได้สัมผัสความงดงามกันเต็มอิ่ม หลังเก็บภาพกันหนำใจ ก็แวะรับพร และทำบุญที่ศาลาวัดติดกับทุ่งทานตะวัน ออกเดินทางมุ่งหน้าไปยังอำเภอวังม่วง จุดหมายปลายทางในวันนี้ของพวกเราคือ ฟาร์มโชคชัยที่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

เราเลือกใช้เส้นทางผ่านด้านหลังเขื่อนป่าสัก (ไม่ได้แวะเขื่อนป่าสักเนื่องจากเกรงว่าจะเข้าไปชมฟาร์มโชคชัยไม่ทันเวลาที่จองไว้) สังเกตุทุ่งทานตะวันละแวกนั้นเพิ่งจะออกดอกตูมเล็ก ๆ ผ่านอำเภอวังม่วง ที่เคยสัมผัสท้องทุ่งเหลืองอร่ามของดอกทานตะวัน ในวันนี้ก็ยังคงออกดอกเขียว ๆ เล็ก ๆ พวกเราคาดว่าดอกทานตะวันส่วนใหญ่จะบานประมาณ กลางเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคมเป็นส่วนใหญ่ ในเส้นทางนี้ที่พวกเราคุ้นเคยก็จะผ่านอุโมงค์ต้นไม้ที่ร่มครึ้มสวยงามจากต้นกระถินป่าที่โน้มกิ่งมาปกคลุมถนนบางช่วง เข้าเขตอำเภอมวกเหล็ก ขับรถผ่านไร่องุ่นคุณมาลีก็ไม่ได้แวะ เพราะถึงเวลาเที่ยวแล้ว หลายคนบ่นหิวข้าวและอากาศร้อนมาก

แต่ก็ต้องลืมความหิวระยะหนึ่ง เนื่องจากเห็นป้ายข้างทางบอกว่ามีทุ่งดอกบัวตองให้ชมที่ไร่นิยมไพร ว๊าวๆๆๆๆๆ ทุ่งดอกบัวตองที่มวกเหล็ก ด้วยวิสัยที่สอดรู้สอดเห็นของพวกเราก็อดไม่ได้ที่จะแวะเข้าไปพิสูจน์ ทุ่งดอกบัวตองภาคกลางมีด้วยหรือ????? จากทางแยกถนนสายเขื่อนป่าสัก - มวกเหล็ก มีถนนลูกรังเล็ก ๆ ขับขึ้นเนินเขาสูงชันเล็กน้อย ใจนึงก็สงสารรถเพราะวันนี้มาด้วยรถเก๋ง Toyota Soluna ไม่ใช่รถกะบะ Toyota Sport Rider แต่ด้วยความมั่นใจในตัวถัง GOA ของรถ Toyota บวกกับความอยากรู้อยากเห็นของกลุ่มพวกเรา ก็ตัดสินใจขับรถขึ้นเนินเขาเข้าไปในไร่ เส้นทางส่วนใหญ่จะเป็นหินลูกรัง (ไม่ใช่ดินนะแต่เป็นหิน) คาดว่าระยะทางจากถนนลาดยางประมาณ 3 กิโลเมตรก็ถึงทางเข้าไร่นิยมไพร ที่นั่นต้องจ่ายค่าผ่านเข้าไร่ ผู้ใหญ่10 บาท เด็ก 5 บาท สภาพไร่ก็เป็นไร่ไม่ใหญ่มาก เส้นทางในไร่ก็เป็นถนนดินบ้าง ถนนลูกรังบ้างเป็นบางช่วง แต่ขอแนะนำว่าผู้ที่ต้องการเข้ามาในไร่ควรจะมาด้วยรถปิคอัพจะเหมาะกว่ารถเก๋ง ทุ่งดอกบัวตองที่นี่มีจริงค่ะ แต่ก็เป็นต้นเล็ก ๆ ประปรายไม่ได้ขึ้นหนาแน่นเหมือนกับทางภาคเหนือ ต้นดอกบัวตองก็ยังเล็กมาก ที่นี่น่าจะเหมาะกับผู้ที่อยากจะเห็นว่าดอกบัวตองมีลักษณะอย่างไรมากกว่าการชมความงามของทุ่งดอกบัวตอง และไม่มีเวลาที่จะเดินทางไปถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอน จะสนุกสนานก็ตอนที่ได้ปีนป่ายขึ้นหอชมวิวในสวนนั่นแหละ

ออกจากไร่นิยมไพรเริ่มรู้สึกหิวกันอีกแล้ว แต่ก็ยังหาร้านอาหารเหมาะ ๆ ถูกใจไม่ได้ จนกระทั่งออกถนนมิตรภาพ เลี้ยวซ้ายมุ่งหน้าไปอำเภอปากช่อง แวะรับประทานอาหารที่ร้านริมทางแก้หิว ร้านที่แวะมีป้ายชวนชิมลูกชิ้นปลากรายแต่ก็ยังไม่ถูกใจพวกเราก็เลยไม่ได้แนะนำชื่อร้าน

เดินทางถึงฟาร์มโชคชัยประมาณบ่ายสองโมง หลังยืนยันการเข้าชมฟาร์ม แวะรับแอร์ เย็น ๆ ในร้านไอสครีมหน้าฟาร์ม เพื่อรอเวลาเข้าชมฟาร์ม บันทึกเรื่องเที่ยวเรื่องต่อไปของพวกเรา จะนำเพื่อน ๆ ไปชมกิจกรรมต่าง ๆ ในการท่องเที่ยวฟาร์มโชคชัยกันค่ะ




สวนดอกไม้


ดอกบัวงาม นามมาเก๊า ครบ 10 ปี ในอ้อมกอดของจีน

He Hua...Lian Hua...Fu Rong หรือ Lotus = ดอกบัว พันธ์ไม้น้ำที่ขึ้นกระจายอยู่ทั่วประเทศจีน จัดเป็นหนึ่งในสิบดอกไม้ที่โด่งดังที่สุดในประเทศจีนดอกบัว ยังจัดเป็นดอกไม้ประจำชาติของ มาเก๊า Macao อีกด้วย ซึ่งจะปรากฏชื่อ Lotus ตามสถานที่ต่างๆ และดอกบัว ยังถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์อยู่บนธงประจำ เขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในอดีตก่อนที่จะมีการถมที่ดินลงทะเล เพื่อขยายพื้นที่บนเกาะมาเก๊า รูปร่างทางภูมิศาสตร์ของเกาะมาเก๊า มีลักษณะคล้ายคลึงกับ กลีบดอกบัวบานอยู่กลางทะเล มีแนวหาดทรายทอดยาวเหมือนก้านสายบัว เชื่อมต่อไปยังจีนแผ่นดินใหญ่
ดอกบัวทองคำที่ Golden Lotus Squareสัญลักษณ์แห่งโปรตุเกส ส่งมอบมาเก๊า กลับคืนสู่ประเทศจีน
สวนเลาลิมเอี๊ยค (Lou Lim Ieoc Garden)สวนสวย บรรยากาศร่มรื่น ที่ได้ชื่อว่ามีความงดงามดุจภาพเขียนของจีน
ตอนที่ไปเที่ยวมาเก๊า เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เห็นแทบทุกสถานที่ในมาเก๊า ถูกประดับตกแต่งด้วยสวนดอกบัวไปทั่ว...สงสัย !...ดูจากโบรชัวร์เลยทราบว่า เป็นการจัดงานมหกรรมดอกบัวประจำปี The 9th Macao Lotus Festival นั่นเอง...ซึ่งงานเทศกาลดอกบัวที่มาเก๊านี้ จัดขึ้นพร้อมๆกับประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ The 23th Lotus Exhibition of China 2009 เพื่อร่วมฉลองในวาระ ครบรอบ 60 ปี แห่งการสถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีน
และยังเป็นการครบรอบ 10 ปี ที่โปรตุเกส ส่งมอบคืนหมู่เกาะมาเก๊า สู่อ้อมกอดของประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ กลายเป็น เขตบริหารพิเศษมาเก๊า แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปัจจุบัน งานเทศกาลดอกบัวในมาเก๊า ได้รวมเอาอะไรๆที่เป็นดอกบัวๆ ทั้งการตกแต่งสถานที่ด้วยสวนบัวพันธ์ต่างๆ การแสดงดนตรีและวัฒนธรรมเกี่ยวกับดอกบัว นิทรรศการภาพถ่าย-ภาพเขียนเกี่ยวกับดอกบัว อาหารที่ทำจากบัว รวมทั้ง น้ำหอมแห่งเมืองมาเก๊า ที่สกัดจากเกสรดอกบัว...ฯลฯ
นำมารวมกัน จัดเป็นงานมหกรรมให้ชม สร้างกิจกรรมให้นักท่องเที่ยว สมกับเป็นเมืองที่มีสินค้าหลักเป็นการท่องเที่ยวจริงๆ