วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เผือก

ชื่อไทย : เผือก*
ชื่ออังกฤษ : Dasheen, Eddoe, Japanese Taro, Taro

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เผือกมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า โคโลคาเซีย เอสคูเบนตา (แอล) ชอตต์ (Colocacia esculenta (L) Schott) อยู่ในตระกูลอะราเซีย (Aracea) ที่ทราบมีเผือกอยู่กว่า ๒๐๐ พันธุ์ ในเมืองไทยนั้นมีหลายพันธุ์เช่นกัน พืชอีกชนิดหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า เผือก หนังสือพันธุ์ไม้แห่งประเทศไทย เล่ม ๑ ของกรมป่าไม้เรียกว่า ลกกะเซีย (lok-ka-sia) และมีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น ยัวเทีย (yautia) และแทนเนีย (tannia) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า แซนโทโซมา ซากิตทิโฟลเลียม (Xanthosoma sagittifollium) ลกกะเซีย เป็นเผือกหัวเล็ก เนื่องมาจากหัวที่เป็นแกนใหญ่ไม่สะสมแป้ง จึงใช้เฉพาะส่วนหัวแขนงเท่านั้น เผือกเป็นพืชมีอายุอยู่ได้หลายฤดู ลำต้นใต้ดินเจริญเติบโตกลายเป็นหัว และมีหัวเล็ก ๆ ล้อมรอบ หัวมีขนาดและรูปร่างต่างกันออกไป ปกติต้นสูง ๐.๔-๒ เมตร ใบใหญ่เป็นรูปหัวใจ มีขนาดสีต่าง ๆ กัน ใบเกิดจากใต้ดิน ดอกปกติประกอบด้วย ๒-๕ ช่อดอก อยู่ในก้านใบ ช่อดอกมีก้านยาว ๑๕-๓๐ ซม. ดอกบานทยอยกันเรื่องๆ ดอกตัวเมียมักจะไม่มี ดอกตัวผู้หนึ่งดอกมีก้านเกสรตัวผู้ ๒-๓ อัน ผลมีสีเขียว เปลือกบาง ไม่ค่อยมีเมล็ดเท่าที่ทราบเผือกที่ปลูกในฮาวาย นิวกินี และโดมินิกัน สามารถติดเมล็ดได้
จังหวัดที่ปลูกมาก ได้แก่ ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชัยนาท สมุทรสาคร รองลงไป ได้แก่ ภาคใต้ ปลูกมากในจังวัดสงขลา สุราษฎร์ธานี ชุมพร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปลูกมากในจังหวัดบุรีรัมย์ มหาสารคาม ส่วนภาคเหนือปลูกเผือกน้อยกว่าภาคอื่น ๆ ปลูกมากในจังหวัดน่าน
เผือกในเมืองไทยเท่าที่มีผู้จำแนกไว้มี ๔ ชนิด ได้แก่
๑. เผือกหอม เป็นชนิดหัวใหญ่ หนักหัวละประมาณ ๒-๓ กก. มีหัวเล็กติดอยู่กับหัวใหญ่เล็กน้อย ต้มรับประทานมีกลิ่นหอม กาบใบใหญ่สีเขียว
๒. เผือกเหลือง หัวขนาดย่อม หัวสีเหลือง
๓. เผือกไม้หรือเผือกไหหลำ หัวมีขนาดเล็ก
๔. เผือกตาแดง ที่ตาของหัวมีสีแดงเข้มมีหัวเล็ก ๆ ติดอยู่รอบหัวใหญ่ เป็นกลุ่มจำนวนมาก กาบใบและเส้นใบสีแดง

ฤดูปลูก/วิธีปลูก/การใส่ปุ๋ย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น