วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประโยชน์ความซ้อน

ประโยคความซ้อนประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว ประกอบด้วยประโยคความเดียวที่มีใจความสำคัญ เป็นประโยคหลัก (มุขยประโยค) และมีประโยคความเดียวที่มีใจความเป็นส่วนขยายส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคหลัก เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยคหลัก (อนุประโยค) โดยทำหน้าที่แต่งหรือประกอบประโยคหลัก ประโยคความซ้อนนี้เดิม เรียกว่า สังกรประโยคอนุประโยคหรือประโยคย่อยมี 3 ชนิด ทำหน้าที่ต่างกัน ดังต่อไปนี้1. ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่แทนนาม (นามานุประโยค) อาจใช้เป็นบทประธานหรือบทกรรม หรือส่วนเติมเต็มก็ได้ ประโยคย่อยนี้เป็นประโยคความเดียวซ้อนอยู่ในประโยคหลักไม่ต้องอาศัยบทเชื่อมหรือคำเชื่อมตัวอย่าง • คนทำดีย่อมได้รับผลดีคน...ย่อมได้รับผลดี : ประโยคหลักคนทำดี : ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทประธาน • ครูดุนักเรียนไม่ทำการบ้านครูดุนักเรียน : ประโยคหลักนักเรียนไม่ทำการบ้าน : ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทกรรม2. ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายประธานหรือบทขยายกรรมหรือบทขยายส่วนเติมเต็ม (คุณานุประโยค) แล้วแต่กรณี มีประพันธสรรพนาม (ที่ ซึ่ง อัน ผู้) เชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อยตัวอย่าง • คนที่ประพฤติดีย่อยมีความเจริญในชีวิตที่ประพฤติ ขยายประธาน คนคน...ย่อมมีความเจริญในชีวิต : ประโยคหลัก(คน) ประพฤติดี : ประโยคย่อย • ฉันอาศัยบ้านซึ่งอยู่บนภูเขาซึ่งอยู่บนภูเขา ขยายกรรม บ้านฉันอาศัยบ้าน : ประโยคหลัก(บ้าน) อยู่บนภูเขา : ประโยคย่อย3. ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายคำกริยา หรือบทขยายคำวิเศษณ์ในประโยคหลัก (วิเศษณานุประโยค) มีคำเชื่อม (เช่น เมื่อ จน เพราะ ตาม ให้ ฯลฯ) ซึ่งเชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อยตัวอย่าง • เขาเรียนเก่งเพราะเขาตั้งใจเรียนเขาเรียนเก่ง : ประโยคหลัก(เขา) ตั้งใจเรียน : ประโยคย่อยขยายกริยา • ครูรักศิษย์เหมือนแม่รักลูกครูรักศิษย์ : ประโยคหลักแม่รักลูก : ประโยคย่อย (ขยายส่วนเติมเต็มของกริยาเหมือน) ที่มา : ศรีโพธิ์พันธุ์กุล.ชนิดและหน้าที่ของประโยค.http://www.oknation.net/blog/thai-lord/2007/05/16/entry-1 (เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2552)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น