วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โรคที่เกิดกับผักกาดขาว

โรค
1. โรคเน่าเละ (Soft rot)
สาเหตุ เกิด จากเชื้อแบคทีเรีย
ลักษณะอาการ เริ่มอาการของโรคเป็นจุดฉ่ำน้ำ ต่อมาจะเน่าอย่างรวดเร็ว ทำให้เนื้อเยื่อเปื่อยและเป็นน้ำภายในเวลา 2-3 วัน ผักจะเน่า ยุบตัวหมดทั้งต้นและหัว หรือฟุบแห้ง เป็นสีน้ำตาลอยู่ที่ผิวดิน อาการเน่าจะเกิดส่วนใดก่อนก็ได้ แต่โดยปกติจะเริ่มที่โคนกาบใบ หรือตรงกลางต้นก่อน สันนิษฐานว่าเชื้อราบางชนิดทำลายไว้ก่อน


โรคเน่าเละ

การป้องกันกำจัด
1. ป้องกันมิให้เกิดแผลในระหว่างเก็บเกี่ยวขนส่ง และการเก็บรักษา
2. ฉีดยาป้องกันแมลงและหนอน
3. ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุโบรอนผสมด้วย โดยใช้ปุ๋ยบอแรกซ์ อัตรา 10-20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
4. อาจใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น พวกสเตร์ปโตมัยซิน อากริไมซิน ฉีดพ่น

2. โรคเหี่ยวของผักกาดขาวปลี (Fusaarium wilt to Chinese Cabbage)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Fusarium Oxysporum
ลักษณะอาการ ผักจะมีใบล่างเหลือง และเริ่มสังเกตได้ง่าย คือ มีใบล่างเหี่ยวแห้งซีกใดซีกหนึ่ง ทำให้ใบเบี้ยว งอไปข้างที่ใบเหี่ยว ต่อมาใบทางซีกนั้นจะเหี่ยวเพิ่มขึ้น และเหี่ยวทั่วต้นในเวลาต่อมา หรือผักเจริญเติบโตแต่เพียงซีกเดียวก่อนแล้วเหี่ยวตาย เมื่อถอนดูรากจะขาดหลุดจากลำต้น เพราะผุเปื่อยเป็นสีน้ำตาล ในดินเหนียวและดินทรายมักพบโรคนี้มาก

การป้องกันกำจัด
1. ก่อนปลูกผักควรมีการเตรียมดินให้ดี มีการใส่ปูนขาวแก้ไขดินเป็นกรดก่อนปลูก
2. ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนมากในระยะต้นกล้า
3. ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับพื้นที่ดังกล่าว
4. ใช้ยาป้องกันกำจัดในโรคนี้มักได้ผลไม่คุ้มค่า

3. โรคเน่าคอดิน (Damping off)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Pythium SP.
ลักษณะอาการ โรคนี้จะเกิดเฉพาะในแปลงกล้าเท่านั้น การหว่านที่แน่นทึบอับลมและต้นเบียดกันมากมักจะเกิดโรค ต้นกล้ามักจะเกิดอาการเป็นแผลซ้ำที่โคนต้นระดับดิน เนื้อเยื่อตรงแผลเน่าและแห้งไปอย่างรวดเร็วเมื่อถูกแสงแดดทำให้ต้นกล้าหักพับ เพราะมีแผลซ้ำที่โคนต้นระดับดิน ต้นเหี่ยวแห้งตาย บริเวณที่เป็นโรคจะค่อย ๆ ขยายวงกว้างออกเป็นวงกลม


โรคเน่าคอดิน

การป้องกันกำจัด
1. ไม่ควรหว่านเมล็ดผักแน่นเกินไป
2. ใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราละลายน้ำในอัตราความเข้มข้นน้อย ๆ ราดลงไปบนผิวดินให้ทั่วสัก 1-2 ครั้ง เช่น เทอราคลอเบนฟอร์ด ซึ่งเป็นยาป้องกันกำจัดเชื้อราในดินโดยตรงจะมีผลยิ่งขึ้น หรือจะใช้ริคโดมิล เอ็มแซด72 ละลายน้ำรดก็ได้ผลดี หรือใช้ปูนใส่รดแทนน้ำในระยะที่เป็นต้นกล้าก็จะช่วยให้ต้นกล้าแข็งแรง และไม่ต้องใช้ยาอีกเลย

4. โรคใบด่างของผักกาดขาวปลี
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส Turnip mosaic Virus
ลักษณะอาการ ต้นที่เป็นโรคแสดงอาการใบด่างเขียว สลับเขียวเหลือง แคระแกรนตามบริเวณเส้นใบจะพบเป็นสีม่วงปะปนอยู่ เมื่อเป็นโรครุนแรงขึ้น ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเหลืองทั้งใบ และมีลักษณะบิดงอเล็กน้อย

การป้องกันกำจัด
1. ใช้เมล็ดที่ปราศจากโรค
2. กำจัดต้นที่แสดงอาการของโรคในระยะแรก โดยการเผาทำลาย
3. ป้องกันกำจัดแมลงพาหะพวกเพลี้ยอ่อนด้วยสารเคมี ไดเมทไทเอท ในอัตรา 30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร

5. โรคราน้ำค้าง
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา (Peroros Pora SP.)
ลักษณะอาการ ด้านบนใบเป็นรอยด่างสีเหลืองซีด ต่อมาแสดงอาการไหม้ทับใต้ใบปรากฏเส้นใยสีขาวเจริญขึ้นมา อาการลุกลามจากใบรอบนอกเข้าสู่ใบด้านใน หากเป็นรุนแรงทำให้ใบไหม้


โรคราน้ำค้าง

การป้องกันกำจัด
เมื่อเริ่มพบอาการให้ใช้สารเคมี ไดเมทเอ็ม หรือ อาโคนิล ฉีดพ่น หากมีการระบาดรุนแรงให้ใช้เอพรอน 35 ฉีดพ่น 1 ครั้ง

6. โรคใบจุด
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา (Altennaria SP.)
ลักษณะอาการ เป็นจุดค่อนข้างกลมสีน้ำตาล ลักษณะแผลเป็นวงซ้อนกัน

การป้องกันกำจัด
ห้ามใช้สารเคมี เบนเลท ฉีดพ่น หากมีระบาดมากให้ใช้สารเคมรอฟรัล สลับกับแอนทราโคลตามฉลากข้างภาชนะบรรจุ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น