วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

กระเทียม

กระเทียม (Garlic)

--------------------------------------------------------------------------------

สถานการณ์ทั่วไป
กระเทียมเป็นพืชเศรษฐกิจพืชหลักของประเทศนอกจากจะใช้ประกอบอาหารและยังเป็นพืชสมุนไพรรักษาโรคได้หลายชนิด ประเทศที่ผลิตกระเทียมได้มากคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ และอินเดีย สำหรับประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกระเทียม 150,000-190,000 ไร่ ผลผลิตประมาณ 9,000 ตัน/ปี ผลผลิตสดเฉลี่ย 1,700-1,900 กิโลกรัม (สด)


--------------------------------------------------------------------------------

ลักษณะทั่วไปของพืช
กระเทียมเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า หัว หัวมีกลีบย่อยหลายกลีบติดกันแน่นเนื้อสีขาวมีกลิ่นฉุนการปลูกจะใช้กลีบกระเทียมเป็นพันธุ์ปลูกได้ดีในดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำดีกระเทียมจะลงหัวในช่วงที่มีอากาศหนาว ดังนั้นจึงปลูกได้ดีเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย


--------------------------------------------------------------------------------

พื้นที่ส่งเสริม
พื้นที่เหมาะสมเชิงธุรกิจจังหวัด เชียงใหม่, ลำพูน, เชียงราย, ลำปาง,พะเยา, อุตรดิตถ์, แม่ฮ่องสอน, ศรีสะเกษ
พื้นที่ปลูกที่สำคัญ จังหวัด เชียงใหม่, ลำพูน, เชียงราย, ลำปาง, พะเยา, อุตรดิตถ์, แม่ฮ่องสอน, ศรีสะเกษ


--------------------------------------------------------------------------------

พื้นที่ปลูก ประมาณ 209,430 ไร่ ( พศ.2540 / 2541)
พันธุ์ที่ส่งเสริม กระเทียมพันธุ์เบาของศรีสะเกษ, กระเทียมพันธุ์เชียงใหม่, กระเทียมพันธุ์หัวใหญ่

ต้นทุนการผลิต/ไร่ 13,860 บาท/ไร่ ( พศ.2539 )


--------------------------------------------------------------------------------

ผลผลิต
ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 429,441 ตัน ( พศ. 2540 / 2541)
ผลผลิตเฉลี่ย 2,051 กก./ไร่ (พศ. 2540 / 2541)
ราคาที่เกษตรกรขายได้ 22 - 60 บาท/กก. (พศ. 2541)
ปริมาณที่ใช้ในประเทศ 429,416 ตัน (พศ. 2541)
การส่งออก ปริมาณ 25 ตัน มูลค่า 3.5 ล้านบาท ( พศ. 2540 )
การนำเข้า ปริมาณ - มูลค่า - ล้านบาท (พศ.- )

การปลูก
วิธีการปลูก
1. เตรีมแปลงกว้างประมาณ 1.20 เมตร ความยาวตามสภาพพื้นที่ ความสูงของแปลงประมาณ 20 เซนติเมตร
2. ใชัพันธุ์กระเทียมโดยฝังกลีบกระเทียมหลุมละ 1 กลีบ ลึกประมาณ 1 เซนติเมตร
3. ให้รดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 5-7 วัน/ครั้ง

ระยะปลูก 15-20 เซนติเมตร X 15-20 เซนติเมตร
จำนวนต้น/ไร่ -
การดูแลรักษา
การใส่ปุ๋ย
1. ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เช่นปุ๋ยคอก, ปุ๋ยหมัก, รองพื้นระยะเตรียมดิน ประมาณ 2-3 ตัน/ไร่
2. ปุ๋ยเคมีสูตร 10-10-15หรือ 13-13-21 อัตรา50-100 กก./ไร่
การให้น้ำ

1. โดยใส่น้ำขังแปลงและตักรดทุก 3-5 วัน/ครั้ง โดยสังเกตุจากใบกระเทียมถ้าเริ่มเหี่ยวต้องรีบให้น้ำทันที
การปฏิบัติอื่นๆ

การคลุมฟาง หลังปลูกกระเทียมแล้วให้คลุมฟางหนาประมาณ 2-3 นิ้ว เพื่อควบคุมการงอกของวัชพืช และควบคุมความชื้นในดิน ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโต

ศัตรูพืชที่สำคัญและวิธีการป้องกันกำจัด
1. โรค
1.1 โรคใบเน่าหรือแอนแทรกโนส จะทำให้ใบเป็นแผลเน่ายุบตัวและระบาดจนถึงทำให้หัวเน่า โดยใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไดโพลาแทน, แมนเชทดี, ไดเท็นเอ็ม-45 หรือ ชินโคโฟน ฉีดยาพ่นทุก 5-7วัน/ครั้ง
1.2 โรคใบจุดสีม่วง โรคนี้จะทำให้กะเทียมไม่ลงหัว ใบแห้งมีแผลจำนวนมากตามใบและจะแห้งตายไปในที่สุดป้องกันกำจัด ใช้ยากำจัดเชื้อราเช่น ไดเท็นเอ็ม-45, ชินโคโพล เดอโรชาล, นาวิสตินหรือไดโพลาแทนฉีดพ่นทุก5-7 วัน/ครั้ง
1.3 โรคหัวและรากเน่า กระเทียมเริ่มมีใบแก่เหลืองเหี่ยวแห้งไป กาบหัวช้ำเริ่มมีเส้นใยสีขาวขึ้นฟูอยู่บนแผลและตาม รากเน่าเป็นสีน้ำตาลจะทำให้หัวนิ่มเน่าและเนื้อเยื่อยุ่ยมีกลิ่นเหม็น
การป้องกันกำจัด
1. ให้ขุดหอมและดินที่เกิดโรครวบรวมไปเ ผาทำลายเสีย เพื่อป้อองกันมิให้ระบาดแพร่ทั่วไป
2. ในการปลูกหอมหรือพืชอื่นๆในปีต่อไป ในที่ๆมีโรคนี้ระบาด ควรทำการปรับปรุงแก้ไขดินเสียใหม่ โดยใส่ปูนขาวประมาณ 100-200 กก./ไร่ ก็จะช่วยให้โรคนี้ชะงักไปได้ระยะหนึ่งหรือหายไป
3. ใช้ยาเทอราคลอ, เทอราโซล หรือเทอราคลอซุปเปอร์เอกซ์ราดโคนต้น4). ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 5 ปี
1.4 โรคเน่าคอดิน ที่โคนต้นบริเวณเหนือพื้นดินขึ้นไปจะมีรอยช้ำเป็นจุดเล็กๆก่อนแล้วจึงขยายตัวขึ้นตามลำดับจนรอบต้น สังเกตดูจะเห็นรอยช้ำสีน้ำตาล ต้นกล้าจะหักพับและส่วนยอดก็จะแห้งตาย
การป้องกันกำจัด
1. หว่านเมล็ดบางๆเพราะถ้าแน่นเกินไปกล้าจะมีโอกาสเป็นโรคได้ง่ายและอย่ารดน้ำให้แฉะเกินไป
2. ถ้ามีโรคเริ่มระบาดเล็กน้อยใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น บลาสซิโคล, ไดเทนเอ็ม-45 ในอัตราที่กำหนดในฉลากสัก 2-3 ครั้ง หลังจากนั้นให้ใช้น้ำปูนใส่อย่างเจือจางรดเป็นระยะ


--------------------------------------------------------------------------------

2. แมลง
2.1 เพลี้ยไฟ จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใบกระเทียม ป้องกันกำจัดโดยใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เช่น เซฟวิน,พ็อส ฉีดพ่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น